เกี่ยวกับโครงการ
โครงการการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตคนในชุมชนฐานราก

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง



เกี่ยวกับโครงการ

โครงการหลัก โครงการบูรณาการพันธกิจสัมพันธ์เพื่อแก้ปัญหาความยากจนของประชาชนในท้องถิ่น
โครงการ การพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตคนในชุมชนฐานราก คณะครุศาสตร์
วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ชุมชนได้ชุดความรู้ท้องถิ่นที่ส่งเสริมรายได้โดยยึดฐานอาชีพเดิมและบริบทพื้นที่
2. เพื่อให้ชุมชนได้นวัตกรรมองค์ความรู้ในการลดต้นทุน/เพิ่มมูลค่า ของผลิตภัณฑ์ในบริบทพื้นที่
3. เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตคนในชุมชนเป้าหมาย

พื้นที่เป้าหมายหลัก :
ครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ตัวชี้วัดรายได้เฉลี่ยของครัวเรือนต่อปี ได้แก่ พื้นที่ อำเภอแม่ทะ อำเภอสบปราบ




ซึ่งมีประเด็นในการดำเนินการขับเคลื่อน กิจกรรมในการขับเคลื่อน และชุดความรู้ที่ได้ ดังนี้

ประเด็นในการดำเนินการขับเคลื่อน กิจกรรมในการขับเคลื่อน ชุดความรู้
1. ประเด็นการลดต้นทุนในการประกอบอาชีพหลัก/รอง 1. กิจกรรมพัฒนาความรู้ภูมิปัญญาทางบัญชี สู่การลดต้นทุนบัญชีในการประกอบอาชีพ 1. การพัฒนาความรู้ภูมิปัญญาทางบัญชี สู่การลดต้นทุนบัญชีในการประกอบอาชีพหลัก/รอง บ้านหัวเสือ และ บ้านทุ่งรวงทอง
2. ประเด็นการเพิ่มรายได้/มูลค่าในการประกอบอาชีพหลัก/รอง 2. กิจกรรมการพัฒนาความรู้ภูมิปัญญาการเพิ่มมูลค่า จาก “เรื่องเล่า” (storytelling) 1. ทบทวนตัวตน สร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยความรู้ ความคิด ความเชื่อและศรัทธา ผ่านเรื่องเล่า บ้านหัวเสือ
2. จากวิถีชีวิต ความคิด ความเชื่อ สู่เรื่องเล่าผลิตภัณฑ์ชุมชน บ้านทุ่งรวงทอง
3. ประเด็นการลดรายจ่ายในครัวเรือน 3. Zero waste เหลือทิ้งศูนย์ ลดต้นทุนรายจ่าย 1. บ้านหัวเสือ Zero waste เหลือทิ้งเป็นศูนย์ ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้
2. ชุมชนฐานรากเข้มแข็ง แบ่งปันความรู้สู่การบริหารจัดการ Zero waste บ้านทุ่งรวงทอง
4. ประเด็นการส่งเสริมเพื่อเพิ่มรายได้(รายได้/อาชีพเสริม) ในครัวเรือนหรือชุมชนจากฐานทรัพยากรท้องถิ่นและความต้องการ 4. การจัดการเรียนรู้การสร้างรายได้ในท้องถิ่นโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน Community Based Learning (CBL) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต 1. การทำลูกประคบ ส่งเสริมรายได้จากภูมิปัญญา เพิ่มคุณค่าจากฐานทรัพยากรท้องถิ่น บ้านหัวเสือ
2. ทำนาจากแรงคน ส่งเสริมรายได้จากภูมิปัญญา เพิ่มคุณค่าจากฐานทรัพยากรท้องถิ่น บ้านทุ่งรวงทอง
5. ประเด็นการส่งเสริมเพื่อเพิ่มรายได้(รายได้/อาชีพเสริม) ในครัวเรือนหรือชุมชน จากองค์ความรู้ของงานวิจัยและนวัตกรรม 5. กิจกรรมการพัฒนาความรู้ภูมิปัญญาด้านส่งเสริมทักษะในอาชีพของคนในชุมชน 1. ต่อยอดภูมิปัญญาสมุนไพร พัฒนาทักษะอาชีพ เพิ่มรายได้ในชุมชน บ้านหัวเสือ
2. ใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ กำจัดวัชพืชให้ถูกวิธี เพื่อข้าวคุณภาพดีและขายได้ราคาสูง บ้านทุ่งรวงทอง
6. การส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งกายใจ สติปัญญา สุขภาวะ อารมณ์และสังคม รักสถาบัน หรือเกิดความรักความสามัคคี 6. กิจกรรมเสริมสร้างอำนาจในตนของผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน 1. พลังศักยภาพผู้สูงวัย เรียนรู้ด้วยใจที่เอื้ออาทร เพิ่มคุณภาพชีวิตจากฐานชุมชน บ้านหัวเสือ
2. กิจกรรมเสริมสร้างอำนาจในตนของผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน บ้านทุ่งรวงทอง