ประเด็นที่ 1

การลดต้นทุนในการประกอบอาชีพหลัก/รอง โรงเรียนบ้านแม่ทะ

ประเด็นที่ 2

การพัฒนาความรู้ภูมิปัญญาการเพิ่มมูลค่า จาก เรื่องเล่า (Storytelling) โรงเรียนบ้านแม่ทะ

ประเด็นที่ 3

การลดรายจ่ายในครัวเรือน โรงเรียนบ้านแม่ทะ

ประเด็นที่ 4

การส่งเสริมเพื่อเพิ่มรายได้(รายได้/อาชีพเสริม)ในครัวเรือนหรือชุมชนจากฐานทรัพยากรท้องถิ่น ภูมิปัญญา ความต้องการ โรงเรียนบ้านแม่ทะ

ประเด็นที่ 5

การส่งเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ครัวเรือนหรือชุชน จากองค์ความรู้ของงานวิจัยและนวัตกรรม โรงเรียนบ้านแม่ทะ

ประเด็นที่ 6

การส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งกายใจ สติปัญญา สุขภาวะอารมณ์และสังคม รักสถาบันหรือเกิดความรักความสามัคคี โรงเรียนบ้านแม่ทะ

ที่มาและความสำคัญโครงการ

โครงการนี้เกิดจากความต้องการของคนในชุมชนที่บ้านแม่ทะ อำเภอแม่ทะ ในประเด็นการเพิ่มรายได้จากการต่อยอดความรู้ภูมิปัญญาและส่งเสริมทักษะในอาชีพของคนในชุมชน จากข้อมูลที่ได้รับ ชุมชนบ้านแม่ทะมีความรู้ภูมิปัญญาด้านการทำดอกไม้ประดิษฐ์และการทำพวงหรีดจากกระดาษสา เป็นความรู้ที่ได้รับการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นและมีการทำดอกไม้ประดิษฐ์พวงหรีดในรูปแบบที่หลากหลาย ซึ่งโรงเรียนและชุมชนมีความต้องการลดรายจ่ายด้านต้นทุนในการจัดซื้อกระดาษสา ซึ่งสอดคล้องกับทางโรงเรียนบ้านแม่ทะที่มีกระดาษใช้แล้วจำนวนมาก เช่น กระดาษข้อสอบ กระดาษรายงานการประชุม กระดาษจัดบอร์ด เป็นต้น มีความต้องการนำมาแปรรูปเป็นกระดาษสาเพื่อจำหน่ายให้กับคนในชุนชนในราคาที่ไม่แพง และสามารถเพิ่มรายได้ให้กับนักเรียนในโรงเรียน รวมถึงชาวบ้านในชุมชนแต่ละครัวเรือน เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาเรื่องการทำดอกไม้ประดิษฐ์และการทำพวงหรีดจากกระดาษสาในชุมชนให้คงอยู่ และส่งเสริมให้คนในชุมชนได้มีรายได้เพิ่มเติมจากภูมิปัญญาในท้องถิ่นและเพิ่มมูลค่าให้กระดาษใช้แล้วที่มีอยู่ในโรงเรียนและตามบ้าน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์การทำดอกไม้ประดิษฐ์และการทำพวงหรีดจากกระดาษสาที่สร้างรายได้กับชุมชน เพื่อชุมชนสามารถนำไปใช้ได้จริงและองค์ความรู้จะคงอยู่สืบทอดในชุมชนนั้นต่อไป

วัตถุประสงค์โครงการการทำกระดาษาสา
เพิ่มรายได้ให้เยาวชนและชุมชน

เพื่อใช้การทำกระดาษาสา เป็นสื่อกลางขับเคลื่อนไปสู่ผลลัพธ์ดังนี้

กิจกรรมการพัฒนาความรู้ภูมิปัญญาทางบัญชี สู่การลดต้นทุนบัญชีในการประกอบอาชีพ

กิจกรรมการพัฒนาความรู้ภูมิปัญญาการเพิ่มมูลค่า จาก “เรื่องเล่า” (storytelling)

Zero waste เหลือทิ้งศูนย์ ลดต้นทุนรายจ่าย

การจัดการเรียนรู้การสร้างรายได้ในท้องถิ่นโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน Community Based Learning (CBL) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

กิจกรรมการพัฒนาความรู้ภูมิปัญญาด้านส่งเสริมทักษะในอาชีพของคนในชุมชน

กิจกรรมเสริมสร้างอำนาจในตนของผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน

กลุ่มเป้าหมาย

ชุมชนบ้านแม่ทะ และสำหรับชุมชนที่ต้องการเพิ่มความรู้ในเรื่องการนำกระดาษที่ใช้แล้วมาแปรรูปเป็นกระดาษสา

ต้นปอสา วัตถุดิบสำคัญสำหรับการทำกระดาษสา

            ต้นปอสา เป็นต้นไม้ประเภทไม่มีแก่น เป็นพืชเส้นใยชนิดหนึ่ง อยู่ในตระกูลเดียวกับหม่อนและขนุน ลำต้นค่อนข้างเปราะแตกกิ่งก้านออกรอบต้น เปลือกมีสีขาวปนเทาหรือสีเขียวอ่อน ใบมี 2 ชนิด คือ ใบหยักและใบไม่หยักใบมีขนเล็กน้อย มีชื่อเรียกกันหลายชื่อแล้วแต่ท้องถิ่น เช่น ภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกปอสา ปอกะสา ภาคตะวันตกเรียก หมอพี หมกพี ภาคใต้เรียก ปอฝ้าย เป็นต้น ต้นปอสาชอบขึ้นในพื้นที่ที่มีอากาศชื้น เช่นตามหุบเขา ตามริมห้วยหรือพื้นดินที่ชุ่มชื้นโดยปกติจะพบในพื้นที่ภาคเหนือ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ใยจากเปลือกของต้นปอสามีคุณสมบัติพิเศษเหมาะสำหรับทำเป็นเชือกได้ แต่ส่วนมากมักถูกนำมาใช้ทำกระดาษปอสาที่นำมาใช้ทำกระดาษจะต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นประมาณ 7-10 เซนติเมตรหรือมีอายุประมาณ 3– 4 ปี เส้นใยปอสาส่วนใหญ่ได้จากเปลือกของลำ ต้นใช้เป็นวัตถุดิบคุณภาพดีในการผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ กระดาษสา มีคุณสมบัติดีคือทนทานไม่กรอบเปื่อยยุ่ยเก็บรักษาได้นานหากใช้ทำหนังสือ ตัวหนังสือจะไม่ซีดจางอยู่ได้นานกว่าร้อยปีปัจจุบันผลผลิตปอสาส่วนใหญ่ใช้ทำกระดาษด้วยมือ(hand - made paper) ทำประโยชน์ได้มากมายได้แก่ กระดาษทำ ร่ม ดอกไม้ประดิษฐ์ โคมไฟ พัด ว่าว บัตรอวยพรต่าง ๆ ตัดชุดแต่งงานกระดาษวาดภาพ กระดาษห่อสารเคมีบรรจุในก้อนถ่านไฟฉาย และใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ในโรงพยาบาลเป็นต้นนอกจากนี้ยังมีสรรพคุณเป็นพืชสมุนไพรในการรักษาโรคต่าง ๆ เช่น ใบใช้ขับปัสสาวะ แก้พิษแมลงกัดต่อย กลากเกลื้อน ผลสุกใช้บำรุงไต แก้อ่อนเพลีย เปลือกลำต้นใช้ห้ามเลือดรากใช้แก้ไอ อาเจียนน้ำยางจากลำต้นใช้แก้การบวมน้ำและแมลงกัดต่อยด้วย

Read More