ประเด็นที่ 1 ประเด็นที่ 2 ประเด็นที่ 3 ประเด็นที่ 4 ประเด็นที่ 5 ประเด็นที่ 6

การส่งเสริมเพื่อเพิ่มรายได้(รายได้/อาชีพเสริม) ในครัวเรือนหรือชุมชน จากองค์ความรู้ของงานวิจัยและนวัตกรรม กิจกรรมการพัฒนาความรู้ภูมิปัญญาด้านส่งเสริมทักษะในอาชีพของคนในชุมชน

ชื่อชุดความรู้

    ต่อยอดภูมิปัญญาสมุนไพร พัฒนาทักษะอาชีพ เพิ่มรายได้ในชุมชน

ที่มาความสำคัญของชุดความรู้

        ชุดความรู้นี้เกิดจากการได้ข้อมูลความต้องการของคนในชุมชนที่บ้านหัวเสือ อำเภอแม่ทะ ในประเด็นการเพิ่มรายได้จากการต่อยอดความรู้ภูมิปัญญาและส่งเสริมทักษะในอาชีพของคนในชุมชน จากข้อมูลที่ได้รับ ชุมชนบ้านหัวเสือมีความรู้ภูมิปัญญาด้านพืชสมุนไพรและการทำลูกประคบ เป็นความรู้ที่ได้รับการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นและมีพืชสมุนไพรในท้องถิ่นที่หลากหลาย และชุมชนมีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร ที่หาได้จากในท้องถิ่น เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน
        เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาเรื่องพืชสมุนไพรในชุมชนให้คงอยู่ และส่งเสริมให้คนในชุมชนได้มีรายได้เพิ่มเติมจากภูมิปัญญา ในท้องถิ่นและเพิ่มมูลค่าให้พืชสมุนไพรที่มีปลูกอยู่ตามบ้านซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่สร้างรายได้กับชุมชน นอกเหนือจากนั้นยังส่งเสริมการพัฒนาและเพิ่มจำนวนผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพรในชุมชนให้มีความหลากหลาย มากขึ้น เช่น การทำยาหม่อง (น้ำมันเขียว) สมุนไพรต้านผมหงอก และยาย้อมผมดำแบบเร่งด่วน เป็นต้น

วัตถุประสงค์ชุดความรู้

    1 เพื่อพัฒนาความรู้ภูมิปัญญาสมุนไพรด้านส่งเสริมทักษะในอาชีพตามบริบทของชุมชน
    2 เพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือนหรือชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย

        ชุมชนบ้านหัวเสือ และสำหรับชุมชนที่ต้องการเพิ่มความรู้ในเรื่องเพิ่มมูลค่าพืชสมุนไพรในท้องถิ่น

วิธีได้มาซึ่งความรู้

รวมพล
        รวมกลุ่มคนในชุมชนเพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ ทักษะในกระบวนการพัฒนาคุณภาพผลผลิตข้าว เพื่อเป็นการพัฒนาทักษะอาชีพของคนในชุมชน รวมทั้งส่งเสริมการเกิดความร่วมมือของชุมชนและหน่วยงานเกษตร ในการต่อยอดเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
    
ผสานความรู้
        สร้างความรู้ความเข้าใจของคนในชุมชนที่สนใจเกี่ยวกับการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้เกิดกระบวนการในการเรียนรู้และพัฒนาร่วมกัน เห็นถึงคุณค่าของสิ่งที่มี พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย เมื่อคนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ และความต้องการตรงกัน ก็จะส่งผลถึงการกำหนดเป้าหมายเดียวกันคือการเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชน
    
มุ่งสู่เป้าหมาย
        การเพิ่มรายได้ของคนในชุมชนต้องเกิดจากความรู้ความเข้าใจในภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน พัฒนาทักษะอาชีพให้เกิดความเชี่ยวชาญ สามารถต่อยอดความรู้และพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบที่หลากหลายเพื่อเพิ่มทางเลือกในการเพิ่มรายได้

เนื้อหา ความรู้ และระดับทักษะที่เกิดจากการเรียนรู้

        การทำลูกประคบของชุมชนบ้านหัวเสือ เกิดจากผู้สูงอายุในชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรที่ปลูกไว้ตามบ้าน และการออกหาสมุนไพรในป่าชุมชน เพื่อมาใช้เป็นยาสามัญประจำบ้านตามภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น อาการเจ็บป่วยที่ไม่อันตรายถึงชีวิตหรือปวดเมื่อยเนื้อตัวจากการทำไร่ไถนา คนสมัยก่อนจะใช้ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับพืชสมุนไพรในการบรรเทาหรือรักษาอาการเจ็บป่วยนั้น ๆ เช่น ขมิ้น ใช้บรรเทาอาการฟกช้ำ ดำเขียว ผดผื่นคัน ไพลและตะไคร้ ลดอาการปวดเมื่อย บรรเทาอาการอักเสบ เป็นต้น แต่การจะนำพืชสมุนไพรแต่ละชนิดมาทีละครั้งทีละชนิดก็ดูเหมือนจะให้ผลดีหรือบรรเทาได้ไม่ดีเท่าที่ควร จึงนำพืชสมุนไพรมาฝานและนำไปตากแห้ง แล้วมาห่อด้วยผ้าดิบ เวลาจะนำมาใช้ก็เพียงแค่นำไปนึ่งในน้ำร้อน 15-20 นาทีแล้วจึงนำมานวดประคบบรรเทาอาการต่าง ๆ อีกทั้งการนำสมุนไพรไปตากแห้งก่อนแล้วจึงค่อยนำมามาห่อผ้าดิบนั้น ถือว่าเป็นการยืดอายุการเก็บรักษาสมุนไพรโดยวิธีธรรมชาติอีกด้วย นับว่าเป็นทักษะที่เกิดจากการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับพืชสมุนไพร

ประโยชน์ที่ได้รับ

    (ผู้รับความรู้จะทำอะไรเป็น หรือประยุกต์ใช้งานอะไรและได้ในระดับใด เพื่อการเพิ่มรายได้ลดรายจ่าย)
     1 เพิ่มความรู้ ความเข้าใจ ในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ตอบสนองความต้องการในปัจจุบันและสมุนไพรที่หาได้จากท้องถิ่น เช่น ผลิตภัณฑ์ยาหม่อง น้ำมันเขียว ผลิตภัณฑ์สมุนไพรต้านผมหงอก และยาย้อมผมดำแบบเร่งด่วน เป็นต้น
     2 ตระหนักถึงความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับสมุนไพรและร่วมสืบทอดให้คงไว้ต่อไป รวมถึงการสร้างรายได้จากทรัพยากรในท้องถิ่น

1 2 3 4 5 6