ประเด็นที่ 1 ประเด็นที่ 2 ประเด็นที่ 3 ประเด็นที่ 4 ประเด็นที่ 5 ประเด็นที่ 6

การลดรายจ่ายในครัวเรือน กิจกรรม Zero waste เหลือทิ้งเป็นศูนย์ ลดต้นทุนรายจ่าย (บ้านทุ่งรวงทอง)

ชื่อชุดความรู้

    “ชุมชนฐานรากเข้มแข็ง แบ่งปันความรู้สู่การบริหารจัดการ Zero waste เหลือทิ้งเป็นศูนย์ ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้”

ที่มาความสำคัญของชุดความรู้

        ชุดความรู้นี้ เกิดจากความร่วมมือของคนในชุมชนบ้านหัวเสือ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง เพื่อส่งเสริมและจุดเริ่มต้นของการเห็นความสำคัญของการพัฒนา คุณภาพชีวิตของชุมชนฐานรากในเรื่องการบริหารจัดการขยะที่มีอยู่ในชุมชน สร้างรายได้ ลดรายจ่าย จากข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารตำบลหัวเสือ พบว่า หมู่บ้านหัวเสือมีพื้นที่นา มีพื้นที่นาจำนวน 6,763 ไร่ ได้แก่นาข้าวเหนียวเป็นส่วนใหญ่ คือ พันธุ์ข้าวที่ปลูกคือ พันธุ์กข 6 พันธุ์กข 10 และทำนาข้าวเจ้าเพียงเล็กน้อย ส่วนที่สวนประมาณ 2,236 ไร่ ได้แก่ สวนลำไย สวนมะขามหวานสวนมะม่วง สวนกล้วย เป็นต้น ที่ไร่ประมาณ 2,188 ไร่ ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ละหุ่งและถั่วลิสง เป็นต้น...
ในเรื่องของปัญหาขยะเกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันที่บริโภคสินค้าแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เช่น ขวดน้ำพลาสติก ถุงพลาสติก หลอดพลาสติก โฟม ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพ สังคม และสิ่งแวดล้อม เมื่อขยะคือภาระของทุกคน จึงเป็นที่มาของการใช้ชีวิตแบบ Zero Waste คือการหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จะไม่สร้างขยะใหม่ ๆ โดยพยายามไม่ให้มีอะไรหลงเหลือจนเป็นขยะได้ โดยยึดหลักปฏิบัติง่าย ๆ 1A3R ประกอบด้วย Avoid หลีกเลี่ยงใช้สิ่งที่ก่อให้เกิดขยะเพิ่ม Reduce ใช้วัสดุที่ก่อให้เกิดขยะให้น้อยลง Reuse การนำกลับมาใช้ใหม่ และ Recycle การหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งเราสามารถนำแนวทางนี้มาปรับใช้กับชีวิตประจำวันของแต่ละคนได้ ด้วยการปฏิบัติตามภารกิจดังต่อไปนี้ การบริหารจัดการขยะจากการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นที่ผ่านมาชาวบ้านหัวเสือส่วนใหญ่จะนำขยะมูลฝอยไปเผาทำลายกันเอง บางส่วนเป็นการบริหารจัดการจากหน่วยงานขององค์การบริหารส่วนตำบล การขับเคลื่อนทั้งคนในชุมชนและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องรวมถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางจึงนำมาสู่ชุดความรู้เพื่อบริหารจัดการขยะในชุมชน ปรับเปลี่ยน Mind set เห็นคุณค่าและสามารถบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์ได้

วัตถุประสงค์ชุดความรู้

    1 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาและเพิ่มระดับคุณภาพชีวิต
    2 ได้แนวทางต่อยอดในการพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดทำธนาคารขยะของชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย

        คนในชุมชนหมู่บ้านหัวเสือ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง ที่ต้องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านและการบริหารจัดการขยะในชุมชน

วิธีได้มาซึ่งความรู้

Heart
        ชุมชนเปิดใจที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ที่จะเข้ามากระทบกับวิถีชีวิตของชุมชนโดยปรับมุมมอง ทัศนคติ โดยยึดประโยชน์ของชุมชนเป็นสำคัญ
    
Head
        เปิดประเด็นความคิดที่เป็นเป้าหมายร่วมกันของชุมชนเพื่อนำไปสู่การหาเครื่องมือหรือแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชนในการจัดการกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชุมชน
    
Hand
        ลงมือปฏิบัติ และร่วมแลกเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ที่ได้รับจากการจัดการสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณค่าและมูลค่าเพิ่มของชุมชน

เนื้อหา ความรู้ และระดับทักษะที่เกิดจากการเรียนรู้

        ชุมชนบ้านหัวเสือส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับประเภทขยะและสามารถระบุวิธีการคัดแยกขยะได้ เนื่องจากผู้นำชุมชนให้ความสำคัญและจัดทำเป็น โครงการให้กับชุมชนอย่างต่อเนื่อง โดยขยะที่พบในชุมชนแบ่งเป็น 4 ประเภท คือ ขยะเปียก ขยะขายได้ ขยะทั่วไป และขยะอันตราย รูปแบบการดำเนินการจัดการขยะแต่ละประเภทที่ชุมชนได้ปฏิบัติจะใช้หลักการ ๑A๓R มีรายละเอียด ดังนี้...
Cinque Terre

ประโยชน์ที่ได้รับ

ชุมชน
        ได้องค์ความรู้ที่เกิดจากการถอดบทเรียนของตัวแทนหมู่บ้านทุ่งรวงทองมาเป็นการบริหารจัดการขยะ ลดการใช้เพื่อรายได้จากสิ่งของเหลือใช้ ลดต้นทุนในภาคการเกษตร มีแนวคิดในการจัดตั้งธนาคารขยะชุมชน เช่น การซื้อ-ขายขยะภายในโรงเรียนหรือชุมชน ทำกระบวนการคล้ายกับธนาคารทั่วไป โดยให้ผู้ฝากนำขยะรีไซเคิลหรือของเก่ามาให้ธนาคารแทนเงินสด หลังจากนั้นก็มีเจ้าหน้าที่ก็จะคิดคำนวณตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการได้ทำการตกลงไว้กับร้านรับซื้อของเก่า จากนั้นก็แลกเปลี่ยนเป็นเงินเข้าบัญชีของผู้ฝาก ส่วนขยะที่ธนาคารรับฝากมาก็จะทำการคัดแยกและรวบรวมไว้ขายให้กับซาเล้งหรือร้านรับซื้อของเก่าต่อไป
    
คนในชุมชน
        ได้รายได้เพิ่มจากการบริหารจัดการครัวเรือนของตนเอง รู้จักคัดแยกขยะ หารายได้เสริม และฝึกนิสัยการออมไปในตัว ที่สำคัญคือเป็นการลดปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนลงอย่างถูกต้องและเหมาะสมนั่นเอง

1 2 3 4 5 6