ประเด็นที่ 1 ประเด็นที่ 2 ประเด็นที่ 3 ประเด็นที่ 4 ประเด็นที่ 5 ประเด็นที่ 6

การเพิ่มรายได้/มูลค่าในการประกอบอาชีพหลัก/รอง กิจกรรมการพัฒนาความรู้ภูมิปัญญาการเพิ่มมูลค่า จาก “เรื่องเล่า” (storytelling)

ชื่อชุดความรู้

    “ทบทวนตัวตน สร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยความรู้ ความคิด ความเชื่อและศรัทธา ผ่านเรื่องเล่า”

ที่มาความสำคัญของชุดความรู้

        ชุดความรู้นี้เกิดจากการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นของผู้คนในชุมชนบ้านหัวเสือ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง จนทำให้ทราบเกี่ยวกับวิถีการดำเนินชีวิตที่อยู่บนพื้นฐานของธรรมชาติ รอบตัว ความรู้ ความเชื่อ และความศรัทธาในสิ่งต่างๆ ของชุมชน และเมื่อชุมชนมีผลิตภัณฑ์ที่เกิดมาจากคนในชุมชนนำสิ่งต่างๆ ของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นพืชพรรณ ความรู้ที่สืบทอดกันมา ความเชื่อ ความศรัทธา ในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของผู้คน ในชุมชนเองมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ การพูดคุย ย้อนถาม ย้อนคิด ถึงสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ทำให้คนในชุมชนมองเห็นคุณค่าและความสำคัญของตนเองและสิ่งที่ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ชุมชนขึ้นได้ ปัจจุบันชุมชนบ้านหัวเสือมีผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้แก่ ลูกประคบ ยาหม่อง และแชมพูที่ล้วนแต่ใช้วัตถุดิบและส่วนประกอบต่างๆ จากผลิตผลของชุมชนทั้งสิ้น...
        การทบทวนย้อนคิดถึงความเป็นมาของตนเองและชุมชน ทำให้คนในชุมชนเกิดการตระหนักรู้เห็นคุณค่าและความสำคัญของตนเองยิ่งขึ้น ส่งผลต่อการคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีเรื่องราวของความคิด ความเชื่อ ความศรัทธาที่เกี่ยวพันกับวิถีชีวิตของคนในชุมชนแทรกอยู่ในนั้นด้วย ก่อเป็นการรักษา ต่อยอด และสืบทอดสิ่งต่างๆ ของชุมชนต่อไป

วัตถุประสงค์ชุดความรู้

    1 การให้คนในชุมชนได้เห็นคุณค่าความสำคัญของตนเองและสิ่งต่างๆ ในชุมชนร่วมกัน ผ่านการทบทวน ย้อนคิด และถ่ายทอดระหว่างคนในชุมชนด้วยกันเอง และกับคนภายนอกชุมชน
    2 การเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ของชุมชนด้วยการเรียบเรียงเรื่องเล่าเพื่อใช้ในการถ่ายทอด
    3 ได้เรื่องเล่าอันเป็นที่มาและอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย

        ชุมชนบ้านหัวเสือ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง และเหมาะกับทุกชุมชนที่มีผลิตภัณฑ์ของคนในชุมชนโดยใช้ผลิตผลอันหมายรวมทั้งธรรมชาติ วัตถุสิ่งของ สถานที่ ภูมิปัญญา และประวัติความเป็นมาของชุมชน ที่มีความสัมพันธ์เป็นองค์รวมเดียวกัน

วิธีได้มาซึ่งความรู้

ล้อมวงสนทนา
        เป็นการรวมตัวกันของคนในชุมชนกับกลุ่มผู้จัดทำโครงการ เพื่อพูดคุยสนทนากันเกี่ยวกับข้อมูลของชุมชน วิถีชีวิตของคนในชุมชน ความรู้ ความคิด ความเชื่อ และการประกอบอาชีพของชุมชน รวมถึงผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีอยู่แล้ว
    
มองคุณค่าสิ่งที่มี
        เมื่อคนในชุมชนได้ทบทวนถึงสิ่งต่างๆ ที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตและความเป็นมาของชุมชน การให้รายละเอียดของสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติ วัตถุสิ่งของ สถานที่ ภูมิปัญญา ผู้คน หรือพิธีกรรม ความเชื่อ ความคิดต่างๆ ล้วนทำให้คนในชุมชนได้เห็นว่าทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวนั้นมีความสำคัญ และทำให้ชุมชนของพวกเขาเป็นชุมชนที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัว มีจุดเด่น และ จุดน่าสนใจ สามารถดึงดูดผู้คนจากชุมชนอื่นๆ ให้มารู้จักชุมชนของพวกเขาผ่านผลิตภัณฑ์ชุมชนได้
    
ร้อยเรียงถ้อยวจีเป็นเรื่องเล่า
        จากการเล่าขานถึงรายละเอียดของสิ่งต่างๆ ประวัติ ตำนาน หรือวิธีการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความเชื่อ ความศรัทธาของคนในชุมชน จากรุ่นสู่รุ่น นำมาเรียบเรียงเป็นเรื่องเล่าเพื่อถ่ายทอดความโดดเด่น และอัตลักษณ์ของชุมชน ที่สอดแทรกอยู่ในผลิตภัณฑ์ชุมชนอยู่แล้ว เล่าเรื่องราวเพื่อสื่อสารกับชุมชนอื่นๆ ให้รู้จัก และสนใจในผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้

เนื้อหา ความรู้ และระดับทักษะที่เกิดจากการเรียนรู้

        การสัมภาษณ์เพื่อให้คนในชุมชนได้นึกทวนย้อนถึงตัวตน วิถีชีวิต และอัตลักษณ์ต่างๆ ของคนในชุมชนผ่านการถ่ายทอดเรื่องราว นับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นช่วงเวลาที่ทำให้คนในชุมชนได้นึกย้อนถึงเรื่องเล่า และภาพความทรงจำของตนเองเกี่ยวกับชุมชนที่ตนอาศัยอยู่ และเรื่องราวต่างๆ ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นมาและจะเป็นไปของชุมชน ...ชุมชนบ้านหัวเสือ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งและสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ ชุมชนได้ด้วยตนเอง ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ของชุมชน ได้แก่ ลูกประคบ ยาหม่อง และแชมพูสมุนไพร โดยองค์ความรู้ต่างๆ ที่นำมาสร้างผลิตภัณฑ์ของชุมชนในแต่ละอย่างนั้น ส่วนหนึ่งได้มาจากการสืบทอดองค์ความรู้จากบรรพบุรุษ และจากการสั่งสมประสบการณ์ของคนในชุมชนเอง อีกส่วนหนึ่งได้มาจากการเข้ามาของหน่วยงานราชการต่างๆ ที่มาให้องค์ความรู้อื่นๆ เพิ่มเติม แต่ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ใดก็ตาม ส่วนประกอบหลักของผลิตภัณฑ์ล้วนมาจากผลิตผล ของชุมชนเองทั้งสิ้น มีส่วนประกอบบางอย่างเท่านั้นที่ต้องจัดหาจากภายนอกชุมชนเข้ามา สำหรับชุดความรู้นี้สามารถจัดแบ่งเป็นหัวข้อต่างๆ ได้ ดังนี้
    สมุนไพร เป็นส่วนประกอบหลักของการผลิตสินค้าในชุมชน อาทิ ขมิ้น ตะไคร้ ใบหนาด ส้มป่อย ผักปืม(ขึ้นฉ่าย) ห้อมเกี่ยว ไพล เป็นต้น สมุนไพรแต่ละชนิดมีสรรพคุณทางยา
    ความคิด ความเชื่อ เป็นสิ่งที่ตกทอดกันมาผ่านการเล่าและการปฏิบัติ ชุมชนบ้านหัวเสือมีชุดความคิด ความเชื่อ ที่หลากหลาย

    จากความเชื่อในด้านต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้ ล้วนเป็นองค์ความรู้และภูมิปัญญาของชุมชนที่มีการถ่ายทอดและสืบต่อมาจากรุ่นสู่รุ่น เป็นสิ่งที่แสดงถึงความรู้ ความคิด ความเชื่อของชุมชน นับเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนได้ เมื่อชุมชนสามารถดึงเอาองค์ความรู้ต่างๆ มานำเสนอร่วมกับการสร้างผลิตภัณฑ์ได้แล้วนั้น จะสามารถทำให้ผลิตภัณฑ์นี้มีที่มาที่ไป มีคุณค่า และสร้างจุดสนใจได้ดียิ่งขึ้น ส่งผลต่อการผลิตเพื่อขายสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนต่อไปได้
    ภายหลังจากการทำกิจกรรมร่วมกับคนในชุมชนบ้านหัวเสือผ่านกิจกรรมในลักษณะ “ทบทวน สะท้อนคิด และสร้างสรรค์” แล้วนั้น ทำให้คนในชุมชนได้เห็นภาพของความเป็นมาเป็นไปของตนเองและของชุมชนชัดเจนขึ้น สิ่งที่เหมือนเป็นเรื่องวิถีชีวิตปกติทั่วไป กลับดูมีความน่าสนใจและสอดคล้องกับการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยคนในชุมชนเองมีระดับความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของตนเองเป็นอย่างดี เพียงแค่ไม่เคยได้กลับมาย้อนคิดทบทวน และเรียงร้อยกันเป็นลำดับที่ต่อเนื่อง เมื่อเข้าใจ และเห็นคุณค่าของสิ่งต่างๆ ที่เป็นเหมือนอัตลักษณ์ของชุมชนมากขึ้น จึงทำให้คนในชุมชนเกิดความคิดสร้างสรรค์นำสิ่งต่างๆ เหล่านั้นมาสัมพันธ์กับการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีคุณค่า มีความน่าสนใจ ขยายตลาดการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนได้มากขึ้นต่อไป

ประโยชน์ที่ได้รับ

    (ผู้รับความรู้จะทำอะไรเป็น หรือประยุกต์ใช้งานอะไรและได้ในระดับใด เพื่อการเพิ่มรายได้ลดรายจ่าย)
     1 คนในชุมชนได้ทบทวนความเป็นตัวตนของตนเอง รวมถึงสิ่งต่างๆ ในชุมชนที่มีความโดดเด่น เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนอยู่แล้ว
     2 คนในชุมชนเห็นคุณค่าและความสำคัญของตนเอง และชุมชนที่ตนอาศัยอยู่
     3 คนในชุมชนสามารถมองเห็นแนวทางในการสร้างสรรค์ ต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนของตนเอง
     4 คนในชุมชนมีทักษะในการสร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์ชุมชนผ่านการบอกจุดเด่น และสิ่งที่น่าสนใจของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ในรูปแบบของเรื่องเล่า

1 2 3 4 5 6