ประเด็นที่ 1 ประเด็นที่ 2 ประเด็นที่ 3 ประเด็นที่ 4 ประเด็นที่ 5 ประเด็นที่ 6

การส่งเสริมเพื่อเพิ่มรายได้(รายได้/อาชีพเสริม) ในครัวเรือนหรือชุมชน จากฐานทรัพยากร ท้องถิ่น ภูมิปัญญา และความต้องการ กิจกรรมการจัดการเรียนรู้การสร้างรายได้ ในท้องถิ่นโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน Community Based Learning (CBL) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ชื่อชุดความรู้

    การทำลูกประคบ ส่งเสริมรายได้จากภูมิปัญญา เพิ่มคุณค่าจากฐานทรัพยากรท้องถิ่น

ที่มาความสำคัญของชุดความรู้

        ชุดความรู้นี้เกิดจากการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุโดยใช้ทรัพยากรจากท้องถิ่น และภูมิปัญญาที่สืบทอดจากบรรพบุรุษและเสริมสร้างเพิ่มความรู้จากองค์กร เฉพาะด้านในเรื่องลูกประคบ ของชาวบ้านหัวเสือ เพื่อส่งเสริมรายได้ในครัวเรือนซึ่งได้รวมกลุ่มทำลูกประคบประมาณ 7-8 ปี โดยเน้นในเรื่องการดูแลรักษาร่างกายโดยใช้ลูกประคบ เพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อย อาการบวม พกช้ำ ลดอาการเกร็งของกร้ามเนื้อและสรรพคุณอีกหลากหลาย เปรียบเสมือนเป็นยาแพทย์แผนไทยประจำหมู่บ้าน ที่ยังคงสามารถตามชุมชนที่เป็นอยู่ทำให้ชุมชนใช้ได้จริง

วัตถุประสงค์ชุดความรู้

    1 การเพิ่มระดับคุณภาพชีวิต
    2 การส่งเสริมรายได้โดยยึดฐานอาชีพเดิมและบริบทพื้นที่
    3 ได้สื่อจัดการเรียนรู้การสร้างรายได้ท้องถิ่นจากฐานทรัพยากรท้องถิ่น ภูมิปัญญา และความต้องการ

กลุ่มเป้าหมาย

        ชุมชนบ้านหัวเสือและเหมาะสมสำหรับชุมชนที่สนใจทำลูกประคบจากทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น

วิธีได้มาซึ่งความรู้

การรวมคน
        การส่งเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ครัวเรือนจากอาชีพเสริมจากฐานทรัพยากรในท้องถิ่นของบ้านหัวเสือ จากผู้สูงอายุในหมู่บ้านที่มีความรู้มาก่อนและไม่มีความรู้เพื่อมีเป้าหมายเดียวกัน
    
การร่วมคิด
        การพัฒนาเริ่มจากกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนและเพิ่มเติมผสมสานจากองค์กรอื่น ๆเพื่อพัฒนาชุมชนให้เกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืนและมองเห็นความสำเร็จ
    
การร่วมทำ
        การกระตุ้นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ให้ความสำคัญกับทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น

เนื้อหา ความรู้ และระดับทักษะที่เกิดจากการเรียนรู้

        การทำลูกประคบในท้องถิ่นของชุมชนหมู่บ้านหัวเสือ ส่วนใหญ่เป็นการดำเนินกิจกรรมการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุและผู้ที่สนใจในหมู่บ้านโดยสามารถแบ่ง แยกการเรียนรู้จากสองประเด็น นั่นคือประเด็นการถ่ายทอดองค์ความรู้มาจากบรรพบุรุษในหมู่บ้านที่สืบสานต่อให้ลูกหลานได้เรียนรู้เพื่อดูแลซึ่งกันและกัน ให้มีสุขภาพที่ดี และประเด็นที่สอง องค์ความรู้ได้จากองค์กรที่มีความรู้โดย เฉพาะเช่น จากบุคคลกรจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล เพื่อมาแลกเปลี่ยนและเพิ่มเติมจากองค์ความเก่าและองค์ความใหม่ให้เกิดการผสมผสานอย่างลงตัวทั้งสองประเด็น ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้วัตถุดิบส่วนใหญ่ จากท้องถิ่นภายในหมู่บ้านที่สามารถปลูกพืชสมุนไพรได้ทุกหลังคาเรือนซึ่งเหมาะสมกับบริบทของชุมชนหมู่บ้านหัวเสือที่มีแหล่งทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ เพื่อก่อให้เกิดรายได้เสริมจากอาชีพหลัก

ประโยชน์ที่ได้รับ

     1 มีองค์ความรู้ในเรื่องการคัดเลือกวัตถุดิบ ในปริมาณที่เหมาะสมของลูกประคบ 1 ลูก (นน. ต่อลูกมีปริมาณ 1.5 ขีด= 150 กรัม) ลูกขนาดกลางใช้ทั่วไปที่นิยม ราคาลูกละ 25 – 30 บาท ในการผลิตลูกประคบของชุมชนได้จัดเตรียมทรัพยากรต่าง ๆตาม รายการสั่งซื้อจากลูกค้าภายในหมู่บ้านหัวเสือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล และจากหมู่บ้านใกล้เคียง ประมาณ 80 -100 ลูก ต่อ ครั้งของการรวมกลุ่มชุมชนผู้อายุ
     2 มีองค์ความรู้ในเรื่องสรรพคุณของวัตถุดิบในท้องถิ่นที่ใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตลูกประคบ สามารถทราบถึงคุณสมบัติหลัก ที่ใช้ในการรักษาอาการต่าง ๆในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อให้สุขภาพดีขึ้นและลดค่าใช้จ่ายในครอบครัวในระดับหนึ่งได้
     3 ผลักดันให้ชุมชนส่งเสริมผลิตสมุนไพรในท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้นและตระหนักถึงการรักษาสุขภาพที่ดีทำได้ง่ายๆภายในชุมชน

1 2 3 4 5 6