โครงงานเพาะรัก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2563

โครงงานเพาะรัก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2563
โดย นางสาวธิดารัตน์ วงค์เก๋

1. ประเมินทักษะการคิดผู้เรียน(Pre-Post test)

     โดยการสอบถาม พูดคุย และตั้งประเด็นคำถามให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น

2. คิดประเด็นการเรียนรู้จากแรงบันดาลใจ กระตุ้น: ความตระหนัก/แรงบันดาลใจ โดยใช้หลัก 4P

      Product Approach นำพานักเรียนให้ได้เรียนรู้จากชิ้นงานหรือผลิตภัณฑ์ของจริง
      Place Approach นำพานักเรียนให้เปิดโลกทัศน์ เรียนรู้จากสถานที่จริง
      Pattern Approach เรียนรู้ด้วยหลักสูตรท้องถิ่นโรงเรียนบ้านสามขา (ห้วย สามขา เห็ด ป่า นา ข้าว) ด้วย T-prime model แล้วสรุปองค์ความรู้โดยผ่าน Mind mapping และการนำเสนอโครงงาน

T-prime model

      (Problem Approach) นำนักเรียนเข้าสำรวจพื้นที่ชุมชน เพื่อรวบรวมข้อมูล ในการค้นพบปัญหา ซึ่งนำไปสู่การหาหัวข้อโครงงาน เพื่อแก้ปัญหาและเกิดเป็นองค์ความรู้


3. การวางแผนร่วมกันกับผู้เรียน

               ผู้เรียนและครูร่วมกันวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยแบ่งกลุ่มผู้เรียน กลุ่มละ 4-5 คน ช่วยกันระดมความคิดเพื่อรวบรวมข้อมูล นำไปสู่หัวข้อโครงงานโดยใช้เทคนิค Force Connections
                     โครงงาน เพระรัก โดยใช้เทคนิค Force Connections

4. จัดการเรียนรู้

               ด้วยการให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง จากสื่อออนไลน์ และสอบถาม หรือไปเรียนรู้จากปราชญ์ชุมชน จากนั้นผู้เรียนต้องมาร่วมกันระดมความคิด และประเมินทางเลือก เมื่อได้ข้อสรุปแล้วจึงเริ่มลงมือปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา โดยใช้ T-prime model แล้วสรุปองค์ความรู้โดยผ่าน Mind mapping และการนำเสนอโครงงาน ซึ่งครูจะทำหน้าที่เป็น Facilitator โดยทำหน้าที่ดังนี้
                    - เป็นผู้ประสานงาน (Coordinator)เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากที่สุด และนำไปสู่การแก้ปัญหา
                    - เป็นพี่เลี้ยงในการเรียนรู้ (Learning Coach)เพื่อให้ผู้เรียน ซึ่งเป็นแหล่งความรู้ฝังลึกที่อยู่ในตัว (Tacit Knowledge) ได้เล่าถึงประสบการณ์และวิธีการแก้ปัญหา นำไปสู่การพัฒนาและจัดการงาน/ตนเองให้ประสบความสำเร็จ และสามารถหาแนวทาง/องค์ความรู้ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ต่อยอดให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผล
                    - เป็นผู้กระตุ้น (Catalyst) ให้เกิดการเรียนรู้ผ่านคำถาม เพื่อดึงพลังหรือศักยภาพของผู้เรียนให้เห็นถึงปัญหา สาเหตุ เป้าหมาย และทางออกร่วมกัน
                    - เป็นผู้สร้างบรรยากาศ (Climate Setter)ให้ผู้เรียนผ่อนคลาย เป็นกันเอง และสร้างความไว้วางใจเพื่อให้เกิดการสื่อสาร เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
                    - เป็นผู้ช่วยการสื่อสาร (Communicator Enabler)ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ ความรู้ต่าง ๆ อย่างเต็มที่ เต็มใจ และเปิดกว้างที่จะรับฟังสมาชิกในกลุ่มอย่างใคร่ครวญ
                    - เป็นผู้สังเกตการณ์ (Observer) รับรู้ถึงพฤติกรรม ความรู้สึก และวิธีคิด ของผู้ผู้เรียนเพื่อปรับกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมอยู่ตลอดเวลา

การเพาะต้นอ่อนทานตะวัน

     วัสดุ/อุปกรณ์ที่ใช้ในการเพาะต้นอ่อนทานตะวัน
          1. เมล็ดทานตะวัน พันธุ์สีดำ/สีลายๆขาวดำ 2. ถาดกระบะทึบแสง 3. กระติ๊บข้าว 4. ตะกร้า 5. กระถาง 6. กล่อง 7. แก้วน้ำ 8. กะละมัง 9. ดิน/แกลบดำ 10. น้ำ 11. กระบอกฉีดน้ำ
     วิธีการเพาะต้นอ่อนทานตะวัน
          1. นำเมล็ดทานตะวันไปตากแดด 1 วัน (จะทำให้เมล็ดดีดออกจากใบได้ง่าย)
          2. นำเมล็ดแช่น้ำ 4-6 ชั่วโมง
          3. นำเมล็ดที่แช่น้ำแล้วมาบ่มในผ้าขนหนู 1 คืน
          4. โรยดิน/แกลบดำ ลงไปในภาชนะที่เตรียมไว้ โดยไม่ให้บางหรือหนาไป
          5. โรยเมล็ดลงไปในดินที่เตรียมไว้ให้ทั่ว โดยไม่ให้บางหรือหนาไป
          6. โรยดินกลบบางๆ และรดน้ำพอชุ่ม
          7. นำภาชนะที่เพาะเสร็จแล้วมาวางซ้อนกัน จากนั้นก็คลุมถุงดำปิดให้สนิด
          8. วันที่ 2 นำออกมารดน้ำ เช้า - เย็น วางซ้อนกันคลุมถุงดำปิดให้สนิด
          9. วันที่ 3 แยกภาชนะที่เพาะออกวางเรียงกันไว้ในร่มไม่ให้โดนแสงแดด รดน้ำเช้า - เย็น
          10. วันที่ 4-5 รดน้ำเช้าเย็น เก็บไว้ในที่ร่ม (เมล็ดหลุดออกจากใบหมดแล้ว)
          11. วันที่ 5-6 รดน้ำเช้าเย็น นำออกมารับแสงแดด ใบเริ่มเขียว
          12. วันที่ 7-9 ตัดไปจำหน่ายได้

5. ผู้เรียนประเมินตนเอง

          โดยใช้เทคนิค Radar Graph ให้ผู้เรียนได้ประเมินตนเองก่อนว่า ก่อนเริ่มกิจกรรมโครงงานนวัตกรรมเพื่อชุมชน ผู้เรียนมีทักษะด้านสารสนเทศ ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะด้านการสื่อสาร ทักษะการทำงานเป็นทีม และกระบวนการใช้วิจารณญาณอยู่ในระดับใด(ทักษะด้านต่าง ๆ ผู้เรียนและครูสามารถกำหนดร่วมกันว่าต้องการประเมินในเรื่องใดบ้าง) และให้ผู้เรียนได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าตนเองต้องการพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ดังกล่าวมาในข้างต้นให้อยู่ในระดับใด เมื่อเสร็จสิ้นการทำโครงงานแล้วให้ผู้เรียนได้ประเมินตนเองอีกครั้งว่าบรรลุตามเป้าหมายที่ตนเองได้ตั้งไว้หรือไม่ และหากบรรลุผลหรือไม่บรรลุผล ผู้เรียนมีสิ่งใดที่ต้องแก้ไขปรับปรุง หรือพัฒนาให้ดีเพิ่มขึ้นไปได้อีก ทั้งนี้ต้องประกอบกับผลการประเมินของครูร่วมอีกทางหนึ่งด้วย (ทั้งนี้ในกระบวนการประเมินสามารถทำได้หลายๆ ครั้ง ในระหว่างการทำกิจกรรม)


6. การต่อยอดองค์ความรู้

          1. เน้น ย้ำ ซ้ำ ทวน ชวนคิดต่อยอด โดยการตั้งคำถามเพื่อต่อยอดทางการคิด
          2. คำถามระดับสูง เป็นการถามให้คิดค้น หมายถึง คำตอบที่ผู้เรียนตอบต้องใช้ความคิดซับซ้อน เป็นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และกระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถใช้สมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวาในการคิดหาคำตอบ
             2.1. คำถามชวนคิดสรุปประมวล เป็นการใช้คำถามเมื่อจบบทเรียน เพื่อให้ทราบว่าผู้เรียนได้รับความรู้หรือมีความก้าวหน้าในการเรียนมากน้อยเพียงใด และเป็นการช่วยเน้นย้ำความรู้ที่ได้เรียนไปแล้ว ทำให้สามารถจดจำเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างคำถามเช่น
              เมื่อนักเรียนได้ทำกิจกรรมนี้แล้ว นักเรียนได้ข้อคิดอะไรบ้าง
              นักเรียนสามารถนำพืชผักในท้องถิ่นชนิดใดมาเพาะแล้วสามารถนำไปจำหน่ายได้บ้าง
              ถ้าหากไม่มีน้ำในการนำมารดต้นอ่อนพืชของนักเรียน นักเรียนจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร
              นักเรียนสามารถพัฒนาการเพาะต้นอ่อนพืชในเรื่องใดได้บ้าง
              จงสรุปขั้นตอนการเพาะต้นอ่อนของพืชผักที่นักเรียนได้ลงมือทำ
              จากโครงงานนวัตกรรมชุมชนที่นักเรียนได้ทำมา นักเรียนสามารถนำไปต่อยอดเชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์ในชุมชนชนิดใดได้บ้าง
              จากโครงงานนวัตกรรมชุมชนที่นักเรียนได้ทำมา นักเรียนคิดว่าสามารถนำไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อะไรได้บ้าง