โครงงานชาผักไชยา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

โครงงานชาผักไชยา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

1. การทดสอบระดับความคิด

     ให้นักเรียนนึกถึงและเล่าประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับเรื่องห้วย ว่าในห้วยมีอะไรบ้าง ถ้านักเรียนได้ไปในห้วยแล้วคาดว่าจะเจอกับอะไร

2. การสำรวจชุมชนสร้างแรงบันดาลใจ

     ครูพานักเรียนไปสำรวจในห้วยของชุมชนบ้านสามขา และคอยกระตุ้นให้นักเรียนคอยสังเกตและจดบันทึกสิ่งที่พบเจอระหว่างทางจนถึงบริเวณห้วย รวมถึงความรู้สึกนึกคิดขณะเดินทางสำรวจด้วย


3. การวางแผนร่วมกันกับผู้เรียน

               ครูให้นักเรียนเข้ากลุ่มแล้วแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้พบเจอในการเดินทางไปสำรวจห้วยครั้งนี้ แล้วให้นักเรียนเขียนคำออกมาให้ได้มากที่สุด จากนั้นให้นักเรียนจัดกลุ่มของคำที่เขียนตามแต่ละประเภท แล้วเลือกคำออกมา 1 คำ ของแต่ละประเภท ให้นักเรียนเชื่อมโยงคำเหล่านั้นเพื่อให้คิดออกมาเป็นนวัตกรรม โดยครูทำหน้าที่คอยให้คำแนะนำและสนับสนุนและร่วมกันกับผู้เรียนวางแผนในการศึกษาค้นคว้าสิ่งต่าง ๆที่เกี่ยวของกับนวัตกรรม

4. การลงมือปฏิบัติ

นักเรียนปฏิบัติตามแผนที่วางกันเอาไว้โดยเริ่มจากการศึกษาค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต แบ่งงานกันรับผิดชอบภายในกลุ่ม และรับผิดชอบหน้าที่ตนเองตามที่ได้รับ
     ขั้นตอนการทำชาผักไชยา
          1. เริ่มจากการเก็บใบผักไชยา โดยใช้ใบที่ไม่อ่อนและไม่แก่จนเกินไป มาล้างทำความสะอาด
          2. ตัดส่วนที่เป็นก้านและเส้นใบที่แข็งออกไป นำใบผักไชยามาหั่นหรือซอยเป็นเส้นเล็ก ๆ แล้วนำมาล้างทำความสะอาดอีกครั้ง
          3. นำไปตากแดด จนผักไชยาแห้งสนิท
          4.นำผักไชยาที่แห้งมาคั่วในหม้อดินโดยใช้ไฟอ่อนๆ จนผักไชยากรอบ และไม่ควรใช้ไฟแรงเพราะจะทำให้ผักไชยาไหม้และมีรสชาติขม
          5. นำมาใส่ดินปลูกต้นไม้/เมล็ดพันธุ์ ตามต้องการ

5. การประเมินตนเอง

          นักเรียนประเมินตนเองโดยใช้สไปเดอร์แกรม โดยมีหัวข้อคือ 1. ความคิดสร้างสรรค์ 2. การสื่อสาร 3. การใช้วิจารณญาณ 4. การทำงานเป็นทีม 5. ทักษะสารสนเทศ


6. การต่อยอดองค์ความรู้

นักเรียนคิดว่าจะทำชาออกมาโดยเพิ่มความหวานซึ่งจะใช้หญ้าหวานมาให้ความหวานแทนน้ำตาลเพื่อเพิ่มรสชาติให้กับชา



ภาพกิจกรรม