โครงงานกล้วยสารพัดประโยชน์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔

โครงงานกล้วยสารพัดประโยชน์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
โดย ครูกนกวรรณ โลมากุล ตำแหน่งครูพี่เลี้ยงเด็กพิการ

1. การทดสอบระดับความคิด

     แชร์ประสบการณ์ในครั้งที่ผ่านมา ว่าใครไปห้วยแล้วเจออะไรบ้าง บางคนอาจจะบอกว่าไปห้วยได้เจอกับหอย ปลา กุ้ง ปูเป็นต้น แต่บางคนก็ไปเล่นน้ำ บางคนก็บอกว่าเคยไปเล่นน้ำที่ฝาย หลายคนอาจไปทำกิจกรรมที่ต่างๆกันไป แต่สุดท้ายเรืองก็จบลงที่ห้วย

2. การสำรวจชุมชนสร้างแรงบันดาลใจ

               เริ่มจากการที่ให้เด็กๆไปสำรวจห้วย เด็กต่างดีใจกันยกใหญ่เพราะแน่อยู่แล้วว่าต้องได้ออกจากโรงเรียน สำคัญคือต้องได้เล่นน้ำเป็นอย่างแน่ ชีวิตชนบทเป็นชีวิตที่เรียบง่ายไม่ต้องไปแก่งแย่งชิงดีกับคนอื่น จากนั้นขณะที่ให้เด็กๆเดินทางไปสำรวจนั้นระหว่างทางเจออะไรบ้างเราก็ให้จดมาให้ได้มากที่สุด พอกลับมาถึงที่โรงเรียนก็ให้เด็กๆจัดกลุ่ม แล้วนำสิ่งที่ตัวเองได้จดบันทึกไว้นำมารวบรวมกับเพื่อน ต่อไปให้เด็กๆนำมาแยกเป็นหมวดหมู่และได้นำมารายงานหน้าชั้นเรียน จนเด็กๆ ครูได้ลงความเห็นว่าจะเอาเรื่องกล้วยสารพัดประโยชน์ เด็กๆประชุมกันถ้าเราจะเอาเรื่องกล้วยจะเอาเรื่องอะไรดี เด็กๆได้ไปค้นคว้าจากอินเตอร์เน็ต ได้ข้อสรุปว่าจะเอาเรื่องวุ้นกล้วย
         ขั้นตอนที่ 1 ได้ให้เด็กๆหาพันธุ์กล้วย โดยไม่ระบุว่าจะเป็นกล้วยอะไร ได้รับความร่วมมือจากเด็กทุกคนดีมาก
         ขั้นตอนที่ 2 เด็กๆก็ลงมือทำวุ้นกล้วย โดยเริ่มจากวัสดุ อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
     ส่วนผสม
          1. กล้วยน้ำว้า 1 หวี
          2. น้ำเปล่า 1,000 กรัม
          3. กะทิ 1,000 กรัม
          4. ผงวุ้น 2 ช้อนโต๊ะ
          5. น้ำตาลทราย 350 กรัม
          6. ใบเตยหั่นท่อน 3 ใบ
          7. เกลือ 3/4 ช้อนชา
     ขั้นตอนการทำ
          1 กล้วยน้ำว้าที่ได้เตรียมไว้ไปต้มในน้ำเดือดผสมกับเกลือเล็กน้อย เพื่อที่จะไม่ให้กล้วยมีความฝาดและมีสี ที่ดำไม่น่าทานได้ ยังคงมีสีของกล้วยที่น่าทาน
          2 ใส่ผงวุ้นลงไปแช่ผสมในน้ำเปล่า แล้วให้แช่ทิ้งเอาไว้ประมาณ 10-15 นาที เพื่อที่จะให้ผงวุ้นนั้นมีความอิ่มตัวขึ้น
          3 เมื่อแช่วุ้นครบเวลาแล้วให้นำไปเคี่ยว โดยใส่ใบเตยมัดลงไปด้วย เพื่อเป็นการเพิ่มกลิ่นความหอม เคี่ยวไปเรื่อยๆจนวุ้นละลายดีไม่จับตัวเป็นก้อน
          4 แล้วตามด้วยการใส่น้ำตาล เกลือลงไปเคี่ยวให้ละลาย แล้วค่อยๆใส่กะทิลงไปเคี่ยวต่อไปเรื่อยๆรอให้น้ำเดือด ตามด้วยการ ใส่กล้วยที่ได้เตรียมเอาไว้ในตอนแรก ใส่ลงไป คนเล็กน้อยและรอให้เดือด
          5 เมื่อเสร็จแล้วให้ทำการปิดไฟกวนส่วนผสมต่อให้คลายความร้อนลงสักหน่อย ก่อนที่เราจะเทใส่ลงไปในภาชนะที่ได้เตรียมเอาไว้ ถ้าเกิดว่าเราเทตอนที่ส่วนผสมมีความร้อนจัดจนเกินไปนั่นจะทำให้มีการแยกชั้นออกจากกันได้
          6 เมื่อเราเทใส่ลงไปในภาชนะเสร็จเป็นที่เรียบร้อยพักเอาไว้รอให้วุ้นเซ็ตตัวหรือจะนำเข้าในตู้เย็นที่ช่องแช่เย็นธรรมดาประมาณ 1-2 ชม. หรือจนกว่าวุ้นจะเซดตัวดี ก็พร้อมนำออกมารับประทาน หั่นเป็นชิ้นตามที่ต้องการได้เลย

วุ้นกล้วยบวชชี

               เป็นเมนูใหม่ที่หลายคนยังไม่เคยลองทาน หากใครชื่นชอบการทานวุ้น ก็ลองนำสูตรนี้ไปทำดูกันได้ง่ายๆ รสชาติที่ได้นั้นจะให้ความหวานมันความหอมอร่อยเนื้อ เก็บสูตรวิธีการทำเอาไว้ทำทานกันได้ในครอบครัว หรือจะทำสร้างเป็นรายได้เสริมเล็กๆน้อยๆก็ดีอย่างแน่นอน แต่ทำกว่าจะได้งานที่ออกมาแล้วดีต้องลองผิดลองถูกอยู่หลายครั้งเลย จนมาช่วงฤดูร้อนคือช่วงมีนาคม เมษายนอากาศร้อนมากๆเด็กๆเลยคิดต่อยอดว่าจะทำอะไรดับกระหายร้อน เด็กๆเลยพูดขึ้นว่าบิงซูดีไหม แต่พวกเด็กๆว่าเราเรียนเรื่องกล้วยกัน ถ้างั้นลองมาทำเรื่องบิงซูกล้วยกันดีกว่า เราลองนึกชื่อเก๋ๆ ก็เลยกลายมาป็น Bananas บิงซู โดยเริ่มจาก

     ส่วนผสม
          1. กล้วยหรือผลไม้อื่นๆ 2. นมข้น 3. นมแช่แข็ง 4. น้ำหวาน
     ขั้นตอนการทำ
          1. นำกล้วยไปบด
          2. นำนมเทออกจากกล่องที่เด็กดื่ม ผสมกับกล้วยใส่ถุงไปแช่ช่องฟรีซไว้ 5 ชั่วโมง
          3.นำนมและกล้วยที่เราแช่ไว้ในช่องฟรีซออกมาปั่นให้ละเอียดเทนมข้นหวานลงไปเยอะๆ เลยจะอร่อยมากนำกล้วยชิ้นเล็กๆมาแต่งรอบๆปากแก้ว พร้อมเสริฟ

          บิงซูในนามของคนทั้วไปอาจจะมี ถ้วย แก้ว ที่หรูๆใส่แต่เด็กสามขาไม่ใช่ แต่เป็นเพียงการเรียนรู้ของเค้าเท่านั้นเพื่อให้ต่อยอดไปถึงอาชีพในอนาคต

          โดยให้ผู้เรียนประเมินตนเอง โดยใช้เทคนิค ให้ผู้เรียนได้ประเมินตนเองก่อนว่า ก่อนเริ่มกิจกรรมโครงงานนวัตกรรมเพื่อชุมชน ผู้เรียนมีทักษะด้านสารสนเทศ ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะด้านการสื่อสาร ทักษะการทำงานเป็นทีม และกระบวนการใช้วิจารณญาณอยู่ในระดับใด(ทักษะด้านต่าง ๆ ผู้เรียนและครูสามารถกำหนดร่วมกันว่าต้องการประเมินในเรื่องใดบ้าง) และให้ผู้เรียนได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าตนเองต้องการพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ดังกล่าวมาในข้างต้นให้อยู่ในระดับใด เมื่อเสร็จสิ้นการทำโครงงานแล้วให้ผู้เรียนได้ประเมินตนเองอีกครั้งว่าบรรลุตามเป้าหมายที่ตนเองได้ตั้งไว้หรือไม่ และหากบรรลุผลหรือไม่บรรลุผล ผู้เรียนมีสิ่งใดที่ต้องแก้ไขปรับปรุง หรือพัฒนาให้ดีเพิ่มขึ้นไปได้อีก ทั้งนี้ต้องประกอบกับผลการประเมินของครูร่วมอีกทางหนึ่งด้วย


การต่อยอดองค์ความรู้

          ๑) เน้น ย้ำ ซ้ำ ทวน ชวนคิดต่อยอด โดยการตั้งคำถามเพื่อต่อยอดทางการคิด
          ๒) คำถามระดับสูง เป็นการถามให้คิดค้น หมายถึง คำตอบที่ผู้เรียนตอบต้องใช้ความคิดซับซ้อน เป็นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และกระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถใช้สมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวาในการคิดหาคำตอบ
             ๒.๑) คำถามชวนคิดสรุปประมวล เป็นการใช้คำถามเมื่อจบบทเรียน เพื่อให้ทราบว่าผู้เรียนได้รับความรู้หรือมีความก้าวหน้าในการเรียนมากน้อยเพียงใด และเป็นการช่วยเน้นย้ำความรู้ที่ได้เรียนไปแล้ว ทำให้สามารถจดจำเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างคำถามเช่น
              เมื่อนักเรียนได้ทำกิจกรรมนี้แล้ว นักเรียนได้ข้อคิดอะไรบ้าง
              จงสรุปเรื่องอาหารที่ได้จากป่า
              จงสรุปขั้นตอนการทำวุ้นกล้วย และผลสำเร็จ
               จงสรุปขั้นตอนการทำ Bananas บิงซู และผลสำเร็จ