โดยการสอบถาม พูดคุย และตั้งประเด็นคำถามให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น
จากการเรียนรู้หน่วย “น้ำมีคุณค่า” เด็กได้เรียนรู้ว่าน้ำ มีประโยชน์ต่อทุกสิ่งบนโลกใบนี้ รวมทั้งสำรวจแหล่งน้ำต่างๆในโรงเรียน เด็กๆสังเกตว่าน้ำที่ใช้ในโรงเรียนเป็นน้ำประปาภูเขา น้ำที่ใช้ในการเกษตรไหลผ่านมาทางห้วยที่ไหลมาจากภูเขา จากนั้นเด็กและคุณครูได้ร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับห้วยดังนี้
ครู | : | ในความคิดของเด็กๆ ห้วย เป็นอย่างไรคะ |
---|---|---|
อุ้ม | : | มีน้ำค่ะ |
พราว | : | มีต้นไม้เยอะๆค่ะ |
ตี๋ใหญ่ | : | อยู่ในป่าครับ |
อุ๊บอิ๊บ | : | อยู่ใกล้ภูเขาค่ะ |
เฟรม | : | มีปลา ปู กุ้ง หอยครับ (พ่อกับปู่ผมไปจับบ่อยๆ) |
ไยไหม | : | น้ำในห้วยไหลมาทุ่งนาใช้ปลูกข้าวค่ะ |
ยิปซี | : | น้ำในห้วยไหลมาให้เราไปเล่นค่ะ |
กิต | : | บางครั้งห้วยก็ไม่มีน้ำครับ |
ครู | : | ห้วย คือ ธารน้ำ แอ่งน้ำลึกกว้างมีทางน้ำไหลจากภูเขามาขังอยู่ตลอดปี หรือแห้งบ้างเป็นบางคราว |
ครู | : | เด็กๆอยากรู้อะไรเกี่ยวกับห้วยบ้างคะ |
ต้นไผ่ | : | ห้วยมีน้ำเยอะหรือเปล่าครับ |
ตองอู | : | ในห้วยมีอะไรบ้างครับ |
นิว | : | น้ำในห้วยไหลเป็นอย่างไรครับ |
ข้าวหอม | : | เราจะเดินทางไปห้วยได้อย่างไรคะ |
แพรวา | : | ถ้าเราไปห้วยเราจะวาดรูปหรือเก็บสิ่งที่มีในห้วยอย่างไรดีคะ |
Product Approach นำพาเด็กให้ได้เรียนรู้จากสิ่งที่สำรวจได้หรือของจริง
Place Approach นำพาเด็กให้เปิดโลกทัศน์ เรียนรู้จากสถานที่จริง และพาไปสำรวจหลายครั้งเมื่อยังไม่ได้คำตอบที่สงสัย
Pattern Approach เรียนรู้ด้วยหลักสูตรท้องถิ่นโรงเรียนบ้านสามขา(ห้วย สามขา เห็ด ป่า นา ข้าว) ด้วย T-prime model แล้วสรุปองค์ความรู้โดยผ่าน Mind mapping และการนำเสนอโครงงาน
เด็กและครูร่วมกันวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยแบ่งกลุ่มผู้เรียนเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 8 คน ช่วยกันระดมความคิดเพื่อรวบรวมข้อมูล นำไปสู่หัวข้อโครงงานโดยใช้เทคนิค Force Connections
ด้วยการให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง จากนั้นเด็กๆต้องมาร่วมกันสนทนาระดมความคิด และเลือกวิธีการสำรวจตรวจสอบเพื่อหาคำตอบจากคำถาม เมื่อได้ข้อสรุปแล้วจึงเริ่มลงมือปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา โดยใช้ T-prime model แล้วสรุปองค์ความรู้โดยผ่าน Mind mapping และการนำเสนอโครงงาน ซึ่งครูจะทำหน้าที่เป็น Facilitator โดยทำหน้าที่ดังนี้
- เป็นผู้ประสานงาน (Coordinator)เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากที่สุด และนำไปสู่การแก้ปัญหา
- เป็นพี่เลี้ยงในการเรียนรู้ (Learning Coach)เพื่อให้ผู้เรียน ซึ่งเป็นแหล่งความรู้ฝังลึกที่อยู่ในตัว (Tacit Knowledge) ได้เล่าถึงประสบการณ์และวิธีการแก้ปัญหา นำไปสู่การพัฒนาและจัดการงาน/ตนเองให้ประสบความสำเร็จ และสามารถหาแนวทาง/องค์ความรู้ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ต่อยอดให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผล
- เป็นผู้กระตุ้น (Catalyst) ให้เกิดการเรียนรู้ผ่านคำถาม เพื่อดึงพลังหรือศักยภาพของผู้เรียนให้เห็นถึงปัญหา สาเหตุ เป้าหมาย และทางออกร่วมกัน
- เป็นผู้สร้างบรรยากาศ (Climate Setter)ให้ผู้เรียนผ่อนคลาย เป็นกันเอง และสร้างความไว้วางใจเพื่อให้เกิดการสื่อสาร เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เป็นผู้ช่วยการสื่อสาร (Communicator Enabler)ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ ความรู้ต่าง ๆ อย่างเต็มที่ เต็มใจ และเปิดกว้างที่จะรับฟังสมาชิกในกลุ่มอย่างใคร่ครวญ
- เป็นผู้สังเกตการณ์ (Observer) รับรู้ถึงพฤติกรรม ความรู้สึก และวิธีคิด ของผู้ผู้เรียนเพื่อปรับกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมอยู่ตลอดเวลา
โดยใช้เทคนิค Radar Graph ให้เด็กได้ประเมินตนเองว่า ก่อนเริ่มกิจกรรมโครงงานนวัตกรรมเพื่อชุมชน ผู้เรียนมีทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ ทักษะด้านการสื่อสาร ทักษะการทำงานเป็นทีม และให้เด็กได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าตนเองต้องการพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ดังกล่าวมาในข้างต้นให้อยู่ในระดับใด เมื่อเสร็จสิ้นการทำโครงงานแล้วให้เด็กได้ประเมินตนเองอีกครั้งว่าบรรลุตามเป้าหมายที่ตนเองได้ตั้งไว้หรือไม่ และหากบรรลุผลหรือไม่บรรลุผล ผู้เรียนมีสิ่งใดที่ต้องแก้ไขปรับปรุง หรือพัฒนาให้ดีเพิ่มขึ้นไปได้อีก ทั้งนี้ต้องประกอบกับผลการประเมินของครูร่วมอีกทางหนึ่งด้วย (ทั้งนี้ในกระบวนการประเมินสามารถทำได้หลายๆ ครั้ง ในระหว่างการทำกิจกรรม)
1. เน้น ย้ำ ซ้ำ ทวน ชวนคิดต่อยอด โดยการตั้งคำถามเพื่อต่อยอดทางการคิด
2. คำถามระดับสูง เป็นการถามให้คิดค้น หมายถึง คำตอบที่ผู้เรียนตอบต้องใช้ความคิดซับซ้อน เป็นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และกระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถใช้สมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวาในการคิดหาคำตอบ
2.1. คำถามชวนคิดสรุปประมวล เป็นการใช้คำถามเมื่อจบบทเรียน เพื่อให้ทราบว่าผู้เรียนได้รับความรู้หรือมีความก้าวหน้าในการเรียนมากน้อยเพียงใด และเป็นการช่วยเน้นย้ำความรู้ที่ได้เรียนไปแล้ว ทำให้สามารถจดจำเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างคำถามเช่น
เมื่อเด็กได้ทำกิจกรรมนี้แล้ว เด็กได้ความรู้จากสิ่งที่เด็กลงมือปฏิบัติอะไรบ้าง
ห้วยในชุมชนมีอยู่หลายที่ เด็กๆคิดว่าแต่ละที่จะพบสิ่งที่สำรวจเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ห้วยที่สำรวจในฤดูฝนเหมือนหรือแตกต่างกันห้วยในฤดูหนาว และฤดูร้อนอย่างไร
เด็กสามารถบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้จากห้วยด้วยวิธีการใดได้บ้าง
เด็กๆแต่ละกลุ่มสรุปขั้นตอนการทำ หนังสือธรรมชาติ
จากการสำรวจห้วยเด็กๆจะนำไปเชื่อมโยงกับเรื่องอื่นๆในชุมชนใดได้บ้าง