ประเด็นที่ 1 ประเด็นที่ 2 ประเด็นที่ 3 ประเด็นที่ 4 ประเด็นที่ 5 ประเด็นที่ 6

การส่งเสริมเพื่อเพิ่มรายได้(รายได้/อาชีพเสริม) ในครัวเรือนหรือชุมชน จากฐานทรัพยากร ท้องถิ่น ภูมิปัญญา และความต้องการ

ชื่อชุดความรู้

    ทำนาจากแรงคน ส่งเสริมรายได้จากภูมิปัญญา เพิ่มคุณค่าจากฐานทรัพยากรท้องถิ่น

ที่มาความสำคัญของชุดความรู้

        ชุดความรู้นี้ เกิดจากความพยายามในการใช้ฐานทรัพยากรท้องถิ่น ภูมิปัญญา และความต้องการ ของชาวบ้านทุ่งรวงทอง เพื่อส่งเสริมรายได้ในครัวเรือน คือการทำนา ที่ยังคงมีการถ่ายทอดภูมิปัญญาการทำนาด้วย 2 มือ ลดการใช้เครื่องจักร ชุมชนทุ่งรวงทองมีการพัฒนาชุดความรู้ของตัวเองขึ้น เพื่อการทำมาหากิน และหาปัจจัยสี่ที่จะช่วยให้ชีวิตมีความเป็นอยู่ที่สุขสบายตามควร ความรู้ของชุมชนเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการปัญหาและการปรับตัวของชุมชนเป็นความรู้ที่เรียกกันว่า ภูมิปัญญา ซึ่งก็คือการสั่งสมประสบการณ์ หรือความจัดเจนจากวิถีชีวิตและสังคมในท้องถิ่นหนึ่งๆ เป็นภูมิปัญญาที่มาจากประสบการณ์จริง ดังนั้นการส่งเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ ในครัวเรือนจากฐานทรัพยากร ท้องถิ่น ภูมิปัญญาเดิม เป็นทุนสังคมที่จะทำให้ชุมชนสามารถทำได้จริง และคงอยู่ในชุมชนนั้น ๆ ต่อไป

วัตถุประสงค์ชุดความรู้

    1 การเพิ่มระดับคุณภาพชีวิต
    2 การส่งเสริมรายได้โดยยึดฐานอาชีพเดิมและบริบทพื้นที่
    3 ได้สื่อจัดการเรียนรู้การสร้างรายได้ท้องถิ่นจากฐานทรัพยากรท้องถิ่น ภูมิปัญญา และความต้องการ

กลุ่มเป้าหมาย

        ชุมชนบ้านทุ่งรวงทอง และเหมาะสำหรับชุมชนที่สนใจการทำนาที่ลดการใช้เครื่องจักร

วิธีได้มาซึ่งความรู้

รวมคน
        การส่งเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือนจากฐานทรัพยากรของชุมชนบ้านทุ่งรวงทอง ต้องรวบรวมและปรับทัศนคติของผู้มีส่วน เพื่อส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน เพื่อมีเป้าหมายเดียวกัน
    
ร่วมคิด
        การพัฒนาควรเริ่มต้นจากการสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับทุนทางสังคมของชุมชน เพราะเมื่อชุมชนมีความรู้ จะให้ความสำคัญ และมองถึงความสำเร็จ
    
ร่วมทำ
        การกระตุ้นและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ให้ความสำคัญกับฐานทรัพยากรที่มี หรืออาชีพที่ทำ เพื่อเป็นฐานให้เกิดการเรียนรู้ที่สามารถต่อยอดได้

เนื้อหา ความรู้ และระดับทักษะที่เกิดจากการเรียนรู้

        การทำนา ณ บ้านทุ่งรวงทอง เป็นการทำนาที่เน้นการใช้แรงงานคน และลดการใช้เครื่องจักร รวมถึงสารเคมี โดยเป็นการทำนาดำ ซึ่งเป็นวิธีการทำนาที่มีการนำเมล็ดข้าวไปเพาะในแปลงที่เตรียมไว้ (แปลงกล้า)ให้งอกเป็นต้นกล้า ใช้เวลาประมาณ 15-20 วัน แล้วจึงถอนต้นกล้าไปปักลงในแปลงนาที่เตรียมเอาไว้ และมีการดูแลรักษาจนให้ผลผลิต ทั้งการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ การดูแลศัตรูพืช และโรคพืชที่จะทำความเลียหายต่อข้าวในนา ซึ่งการทำนาดำนี้ ในเบื้องต้นต้องมีแรงงานเพียงพอ เพราะไม่สามารถใช้เครื่องจักรทำแทนได้ แต่ผลดีคือ “ข้าวทุกต้น ถูกสัมผัสด้วยความรักและความหวัง”

ประโยชน์ที่ได้รับ

     1 มีองค์ความรู้การทำนาอินทรีย์ หรือการใช้แรงงานคนทำนา ช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตมากขึ้น เพราะการให้ปุ๋ยอินทรีย์จะทำได้ผลผลิต 800 กิโลกรัมต่อไร่ โดยต้นทุนในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เพียงแค่ประมาณ 200 บาท ต่อไร่ โดยอาจจะต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์มากในตอนแรก แต่จะค่อย ๆ ลดลงเมื่อสภาพดินดีแล้ว ในขณะที่การใช้ปุ๋ยเคมีจะได้ผลผลิตประมาณ 400 กิโลกรัมต่อไร่ โดยต้นทุนการผลิตประมาณ 400 บาท ต่อไร่ และต้องเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้มากขึ้นในทุก ๆ ปี
     2 ได้สภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์กลับคืนมา ดินร่วนซุย รากข้าวชอนไชหาอาหารง่าย กบ กุ้ง ปลา ชุกชุม มีสุขภาพชีวิตที่ดี มีอาหารปลอดสารพิษไว้บริโภค
     3 เกิดการตระหนักในสุขภาพชีวิต เพราะชุมชนดำเนินชีวิตด้วยสิ่งแวดล้อมที่ปลอดสารเคมี

1 2 3 4 5 6