ชื่องานวิจัย : การสำรวจความต้องการและพัฒนาการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษา สาขาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษา
ประเภทวิจัย : วิจัยองค์ความรู้
ปีงบประมาณ : 2554
ประเภททุน : ทุนภายใน
แหล่งทุน : -
งบประมาณ : 25,000.00 บาท
เลขที่สัญญาทุน : -
สถานะ : ส่งเล่มสมบูรณ์
หัวหน้าวิจัย : สมชาย เมืองมูล
สังกัด : สาขาวิชาคอมพิวเตอร์
ข้อมูลติดต่อ :     
ผู้ร่วมวิจัย :








บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการในการใช้งานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาสาขาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง และเพื่อนำผลการวิจัย จากการศึกษาสภาพและความต้องการในการใช้งานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มาอบรมการสร้างสื่อ การเรียนการสอน ด้วยหนังสืออิล็กทรอนิกส์ เพื่อพัฒนาทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาสาขาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ชั้นปีที่ ๔ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๔ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ๑) แบบสอบถาม การสำรวจความต้องการและพัฒนาการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาสาขาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับ ๒) แบบประเมินการอบรมการสร้างสื่อการเรียนการสอน โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับ ๓) แบบทดสอบการใช้งานหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ ๔ ตัวเลือก

ผลการวิจัย พบว่า ทักษะการใช้งานด้านเทคโนโลยีสารเสนเทศ ของนักศึกษาสาขาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ในภาพรวมนักศึกษามีทักษะการใช้งานอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๑๔ คิดเป็นร้อยละ ๘๒.๘๐ โดยแบ่งออกเป็น ๓ ทักษะ คือ ทักษะการใช้โปรแกรมขั้นพื้นฐาน ทักษะ การใช้ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และทักษะการสร้างสื่อการเรียนการสอน
ทักษะการใช้โปรแกรมขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมนักศึกษามีทักษะการใช้โปรแกรมขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๑๕ หากพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า นักศึกษามีทักษะการใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint มากที่สุด โดยสามารถเพิ่มและลบสไลด์ได้ สามารถเปลี่ยนขนาด รูปแบบ สี ของตัวอักษรได้ สามารถเปลี่ยนพื้นหลังได้ และสามารถเปิดเอกสารนำเสนอเก่าและนำมาแก้ไขได้ รองลงมา คือ การใช้โปรแกรม Microsoft Word โดยสามารถตัด คัดลอก และวางสิ่งที่เลือกไว้ในเอกสารได้ สามารถเปลี่ยนขนาด รูปแบบ สี ของตัวอักษรได้ สามารถตั้งค่าหน้ากระดาษได้ และสามารถสั่งพิมพ์เอกสารได้ และการใช้ โปรแกรม Microsoft Excel โดยสามารถใช้สูตรคำนวณและฟังก์ชั่นพื้นฐานได้ สามารถสร้างเอกสารใหม่และบันทึกเอกสารได้ สามารถเปิดเอกสารเก่าและนำมาแก้ไขได้ และสามารถเปลี่ยนขนาด, รูปแบบ, สี ของตัวอักษรได้ นอกเหนือจากนั้น ตามลำดับ

ทักษะการใช้ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ในภาพรวมนักศึกษามีทักษะการใช้ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๒๘ หากพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า การใช้ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อเข้าสู่เว็บไซต์ที่ต้องการได้ รองลงมา คือ สามารถใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อรับและส่ง e-mail ได้ สามารถใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อดูข้อมูลข่าวสารได้ และสามารถ Download ข้อมูลจาก อินเทอร์เน็ต ได้ ตามลำดับ

ทักษะการสร้างสื่อการเรียนการสอน ในภาพรวมนักศึกษามีทักษะการสร้างสื่อการเรียนการสอน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๖๙ หากพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า นักศึกษาสามารถสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ได้ มากที่สุด รองลงมา คือ สามารถสร้างบทเรียนออนไลน์ได้ สามารถสร้างสื่อมัลติมีเดียได้ และสามารถสร้างสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้ ถือว่า การสร้างสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ นักศึกษามีทักษะการสร้างสื่อการเรียนการสอนน้อยที่สุด

จากผลการสำรวจทักษะการใช้งานด้านเทคโนโลยีสารเสนเทศ ของนักศึกษาสาขาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง พบว่า นักศึกษามีทักษะการสร้างสื่อการเรียนการสอนน้อยกว่าทักษะการใช้โปรแกรมขั้นพื้นฐานและทักษะการใช้ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หากพิจารณาการสร้างสื่อการเรียน การสอน นักศึกษามีทักษะการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์น้อยที่สุด ผู้วิจัยจึงจัดอบรมการสร้างสื่อ การเรียนการสอน โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ขึ้น เพื่อเสริมสร้างทักษะการสร้างสื่อการเรียนการสอน และทักษะการใช้งานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศต่อไป และจากผลการประเมินการอบรมการสร้างสื่อ การเรียนการสอน โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ผู้ตอบแบบประเมินส่วนใหญ่ มีความพึงพอใจต่อ การฝึกอบรม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๖๘ คิดเป็นร้อยละ ๙๓.๖๐ หากพิจารณาเป็น รายข้อ พบว่า ผู้เข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้ เชื่อว่าการอบรมครั้งนี้ช่วยเปิดโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ความสามารถและความคิดเห็นระหว่างกันได้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๗๖ รองลงมา คือ สามารถนำความรู้ ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๖๐ และความชัดเจนในการอธิบายเนื้อหาของวิทยากร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๕๖ ตามลำดับ และนำไปเปรียบเทียบผลการทดสอบก่อนการอบรมและหลังการอบรม การสร้างสื่อการเรียนการสอน โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยการทำแบบทดสอสอบการใช้งานหนังสืออิเล็กทรอนิสก์ จำนวน ๒๐ ข้อ พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนการอบรม เท่ากับ ๘.๘๖ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ ๒.๐๘ ค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังเการอบรม เท่ากับ ๑๗.๒๔ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ ๑.๖๙ จะเห็นว่าค่าเฉลี่ยคะแนนหลังการอบรม สูงกว่าค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนการอบรม แสดงว่านักศึกษา มีพัฒนาการสูงขึ้น หลังจากการอบรมการสร้างสื่อการเรียนการสอน โดยใช้หนังสือ อิเล็กทรอนิสก์ และเมื่อเปรียบเทียบโดยใช้ค่า t-test ค่า t เท่ากับ ๒๓.๘๗ แสดงว่าผลการทดสอบ ของนักศึกษาจากการใช้งานหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
หมายเหตุ :