ชื่องานวิจัย : |
กระบวนการนำแนวคิดจิตตปัญญาศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษา วิชากิจกรรมสิ่งแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัย |
ประเภทวิจัย : |
วิจัยในชั้นเรียน |
ปีงบประมาณ : |
2559 |
ประเภททุน : |
ทุนภายใน |
แหล่งทุน : |
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง |
งบประมาณ : |
5,000.00 บาท |
เลขที่สัญญาทุน : |
012/2559 |
สถานะ : |
ส่งเล่มสมบูรณ์ |
หัวหน้าวิจัย : |
วิไลวรรณ กลิ่นถาวร |
สังกัด : |
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย |
ข้อมูลติดต่อ : |
|
ผู้ร่วมวิจัย : |
|
บทคัดย่อ : |
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
1) ศึกษากระบวนการนำแนวคิดจิตตปัญญาศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชากิจกรรมสิ่งแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัย สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย และ 2) ศึกษาประสบการณ์การเรียนรู้ของนักศึกษาในด้านการตระหนักรู้ต่อตนเอง ผู้อื่นและวิชาชีพ บริบทของการวิจัยเป็นชั้นเรียนรายวิชากิจกรรมสิ่งแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัยที่เปิดสอนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 83 คน เก็บข้อมูลด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมในชั้นเรียน การดึงข้อมูลจากบันทึกสะท้อนการเรียนรู้ของนักศึกษา และการสัมภาษณ์กลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา กระบวนการนำแนวคิดจิตตปัญญาศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชากิจกรรมสิ่งแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การเตรียมการประกอบด้วยการเตรียมชีวิตและการเตรียมวิชา 2) การจัดการเรียนการสอน เป็นการดำเนินการภายใต้บรรยากาศของชุมชนแห่งการเรียนรู้ โดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ และ 3) การประเมินผลการเรียนรู้ เป็นการประเมินผลการเรียนรู้ที่ครอบคลุมองค์ความรู้ทั้ง 3 ภาค คือภาคจิตวิญญาณ ภาควิชาชีพครูปฐมวัย และภาควิชาการประสบการณ์เรียนรู้ที่เกิดขึ้นสามารถสรุปเป็นประเด็นการตระหนักรู้ต่อตนเอง ต่อผู้อื่นและต่อวิชาชีพ ดังนี้
1. การตระหนักรู้ต่อตนเอง ได้แก่ การเข้าใจตนเอง การรู้เท่าทันตนเอง การปล่อยวาง
ไม่ตัดสิน การเปิดใจกว้าง การเห็นคุณค่าในตนเอง การพัฒนาตนเอง การสังเกตที่ละเอียดลออ
การมองโลกในแง่ดีและมีความสุข การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
2. การตระหนักรู้ต่อผู้อื่น ได้แก่ การเข้าใจและยอมรับผู้อื่น การมองเห็นสรรพสิ่งตาม
ความเป็นจริง การเห็นอกเห็นใจและเห็นคุณค่าของผู้อื่น
3. การตระหนักรู้ต่อวิชาชีพ การมองเด็กตามความเป็นจริง การสอนที่สอดคล้องกับ
ธรรมชาติของเด็ก การเท่าทันตัวเองของครู การพัฒนาตนเองของครู การเป็นครูที่ใส่ใจเด็ก
การเห็นคุณค่าของงานครู |
หมายเหตุ : |
|
|
|