ชื่องานวิจัย : การพัฒนาสื่อ e-Learning ผีปู่ย่าสื่อสัมพันธ์สร้างสรรค์ชุมชน ต.หัวเสือ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง
ประเภทวิจัย : วิจัยองค์ความรู้
ปีงบประมาณ : 2559
ประเภททุน : ทุนภายนอก
แหล่งทุน : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
งบประมาณ : 76,500.00 บาท
เลขที่สัญญาทุน : RDG590023
สถานะ : ส่งเล่มสมบูรณ์
หัวหน้าวิจัย : มะยุรีย์ พิทยาเสนีย์
สังกัด : สาขาวิชาคอมพิวเตอร์
ข้อมูลติดต่อ :     
ผู้ร่วมวิจัย : กิตติยา ปลอดแก้ว
สุทธิมั่น ปิยะโกศล
สุธาสินี ยันตรวัฒนา
เกษทิพย์ ศิริชัยศิลป์





บทคัดย่อ : การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทเกี่ยวกับผีปู่ย่า ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง 2) เพื่อสร้างและนำบทเรียน e-Learning ผีปู่ย่า ตำบลหัวเสือ อำเภอ แม่ทะ จังหวัดลำปาง ไปใช้เพื่อหาประสิทธิภาพ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนด้วย e-Learning ผีปู่ย่า ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนห้วยมะเกลือวิทยา ตำบล หัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง จำนวน 22 คน ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับบริบทผีปู่ย่า สื่อ e-Learning ผีปู่ย่าสื่อสัมพันธ์สร้างสรรค์ชุมชน ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปางและแบบประเมินความพึงพอใจ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการวิเคราะห์เชิงเหตุผลเป็นหลัก ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติพื้นฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. บริบทชุมชนตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ประกอบด้วย 12 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 1 บ้านก้อม หมู่ 2 บ้านหัวเสือ หมู่ 3 บ้านดอนมูล หมู่ 4 บ้านห้วยมะเกลือ หมู่ 5 บ้านทุ่ง หมู่ 6 บ้านสามขา หมู่ 7 บ้านนายาบ หมู่ 8 บ้านผาแมว หมู่ 9บ้านสบไร่ หมู่ 10 บ้านแม่ลู่พัฒนา หมู่ 11 บ้านหัวทุ่งพัฒนา หมู่ 12 บ้านหนองมุงพัฒนา บริบทผีปู่ย่า ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง มีจำนวน 9 ผี ได้แก่ 1) ป่าพ่วง ตับเพิ้ง ต้าวจี๋ 2) ข้อมือเหล็ก ฝายู หน่อหล้า ห่มขาว 3)พ่อแผ่นหลวง 4) เจ้าอาฮักหลักคำ 5) เจ้าอาฮักคำแดง 6) เจ้าจ้างเผือก 7) เจ้าพ่อเหล่าคำ 8) เจ้าข้อมือคำและ 9) ผีปู่ย่าบ้านสามขา
2. บทเรียน e-Learning ผีปู่ย่า ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง มีความเหมาะสมสอดคล้องในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.78 และนำสื่อ e-Learning ผีปู่ย่าสื่อสัมพันธ์สร้างสรรค์ชุมชนตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ไปใช้เพื่อหาประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.75/83.64 เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนด
3. ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนด้วยสื่อ e-Learning ผีปู่ย่าสื่อสัมพันธ์
สร้างสรรค์ชุมชน ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.39

คำสำคัญ : อีเลิร์นนิ่ง (e-Learning), ผีปู่ย่า (Pheepuya)


The purposes of this research were to study Pheepuya social contexts of Huasue Subdistrict, Maetha District, Lampang Province, to create and apply e-Learning’s lesson of Pheepuya for finding efficiency of the lesson, and to study the satisfaction of learners who participated the lessons. The target group comprised 22 students who were from Huaymakrue school, Huasue Subdistrict, Maetha District, Lampang Province, in the second semester of the academic year 2016. The data collection instruments were direct interview of Pheepuya social contexts’ form and satisfaction evaluation’s form. The research was conducted by participated research and emphasized on qualitative research. The data obtained were analyzed for mean, percentage and efficiency.
The findings of this study were as follows:
1. The 12 villages of Pheepuya social contexts of Huasue Subdistrict, Maetha District, Lampang Province are Bangom Moo1, Ban Huasue Moo2, Bandonmoon Moo3, Ban Huay Makue Moo4, Ban Tung Moo5, Ban Samkha Moo6, Ban Nayap Moo7, Ban Phamaew Moo 8, Ban Soprai Moo9, Ban MaeLupattana Moo10, Ban Huatungpattana Moo11, Bannongmungpattana Moo12. Pheepuya social contexts of Huasue Subdistrict, Maetha District, Lampang Province have 9 type of ghosts such as Phapoung Tubpong Tawji, Khomuelek Phayu Norla Homkhaw, Phorpaenloung, Jaowarahaklakkham, Jaowarhakkhamdang, Jaowchangphuek, Jaowpholaowkham, Jaowkhomuekham, and Pheepuya Ban Samkha.
2. e-Learning of Pheepuya social contexts of Huasue Subdistrict, Maetha District, Lampang Province passed preset criteria (80/80) 84.75/83.64, means 4.78.
3. The satisfaction of e-Learning of Pheepuya social contexts of Huasue Subdistrict, Maetha District, Lampang Province were good level.


Keywords : e-Learning, Pheepuya
หมายเหตุ :