ชื่องานวิจัย : |
การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของครู ในการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของโรงเรียนนำร่องในเขตอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง (Creating Process to Develop Teachers’ Class Management in Establishing “Moderate Class More Knowledge” learning activities of Pilot School in Meuang Parn District, Lampang Province.) |
ประเภทวิจัย : |
วิจัยองค์ความรู้ |
ปีงบประมาณ : |
2559 |
ประเภททุน : |
ทุนภายนอก |
แหล่งทุน : |
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง |
งบประมาณ : |
100,000.00 บาท |
เลขที่สัญญาทุน : |
RDG59002 |
สถานะ : |
ส่งเล่มสมบูรณ์ |
หัวหน้าวิจัย : |
อัมเรศ เนตาสิทธิ์ |
สังกัด : |
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา |
ข้อมูลติดต่อ : |
|
ผู้ร่วมวิจัย : |
ปริญญภาษ สีทอง
เศรษฐวิชญ์ ชโนวรรณ
วิไลวรรณ กลิ่นถาวร
|
บทคัดย่อ : |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของครู ในการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ของโรงเรียนนำร่องในเขตอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือ โรงเรียนนำร่องในการจัดกิจกรรมลดเวเลาเรียนเพิ่มเวลารู้จำนวน 4 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลเมืองปาน โรงเรียนบ้านป่าเหว โรงเรียนแจ้ซ้อนวิทยา และโรงเรียนทุ่งกว๋าววิทยาคม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร (Content Analysis) แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม การประชุมสนทนา (Focus Group Discussion) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) การวิเคราะห์จำแนกหรือจัดกลุ่มข้อมูล (Typological Analysis) ตรวจสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลโดยการทบทวนแบบสามเส้า (triangulation) และการตีความและสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (Interpretation and Analytic Induction) จากข้อมูลภาคสนามเป็นสำคัญ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการร่วมพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของครู ในการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของโรงเรียน พบว่า ทั้ง 4 โรงเรียนมีบริบทและความต้องการพัฒนาที่แตกต่างกัน โดยโรงเรียนอนุบาลเมืองปาน โรงเรียนบ้านป่าเหว และโรงเรียนแจ้ซ้อนวิทยา มีความต้องการพัฒนาทักษะการพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์ และโรงเรียนทุ่งกว๋าววิทยาคมมีความต้องการพัฒนาทักษะการคิด
2. ผลการติดตามหนุนเสริมกระบวนการพัฒนากิจกรรม และการติดตามการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้ระบบพี่เลี้ยง (Coaching) พบว่า ครูพัฒนากิจกรรมโดยเน้นให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดมากยิ่งขึ้น เน้นรูปแบบการจัดกิจกรรมแบบวิจัยเป็นฐาน (RBL) และโครงงานเป็นฐาน (PBL) เน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist Theory) และใช้วัสดุและอุปกรณ์ที่มีอยู่ในชุมชน โดยหลังจากการใช้กระบวนการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู ในการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของโรงเรียนนำร่องในเขตอำเภอเมืองปาน นอกจากจะเกิดการเปลี่ยนแปลงกับกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูแล้ว ยังเกิดผลลัพธ์กับตัวผู้เรียน เช่น ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข มีทักษะการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น มีทักษะอาชีพเพิ่มมากขึ้น มีทักษะการคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างเป็นระบบ มีความรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากในตำราเรียน รู้จักแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง มีสมาธิในการร่วมกิจกรรมมากยิ่งขึ้น เกิดการเรียนรู้ โดยการเห็นประจักษ์แจ้งด้วยตนเองสามารถคิดหาทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง และสามารถคิดหาสาเหตุของปัญหาได้ด้วยตนเอง เป็นต้น
3. ผลการสรุปกระบวนการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู ในการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของโรงเรียนนำร่องในเขตอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง พบว่า กระบวนการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูแต่ละโรงเรียนมีความแตกต่างกันตามบริบท ความพร้อมของโรงเรียน และความต้องการของผู้เรียน แต่อย่างไรก็ตามกระบวนของทุกโรงเรียนได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่ ชุมชน สถาบันอุดมศึกษาในท้องถิ่น ผู้ปกครอง ศึกษานิเทศก์ เขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหาร และเพื่อนครู จึงส่งผลให้กระบวนการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่เป้าหมายไว้
คำสำคัญ: กระบวนการจัดการเรียนรู้, ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้, อำเภอเมืองปาน |
หมายเหตุ : |
|