ชื่องานวิจัย : การวัดประเมินตามสภาพจริงรายวิชาการศึกษา สังเกต และมีส่วนร่วมในสถานศึกษาด้วยวิธีทบทวนหลังการปฏิบัติกิจกรรมของนักศึกษา สาขาคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
ประเภทวิจัย : วิจัยในชั้นเรียน
ปีงบประมาณ : 2557
ประเภททุน : ทุนภายใน
แหล่งทุน : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
งบประมาณ : 5,000.00 บาท
เลขที่สัญญาทุน : -
สถานะ : ส่งเล่มสมบูรณ์
หัวหน้าวิจัย : ปราโมทย์ พรหมขันธ์
สังกัด : สาขาวิชาคอมพิวเตอร์
ข้อมูลติดต่อ :     
ผู้ร่วมวิจัย :








บทคัดย่อ : การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการวัดประเมินตามสภาพจริงภายหลังการปฏิบัติกิจกรรมศึกษาสังเกตและมีส่วนร่วมในสถานศึกษาด้วยวิธีการทบทวนหลังการปฏิบัติกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาศึกษาสังเกตและมีส่วนร่วมในสถานศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 43 คน ชาย 18 คน และหญิง 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนกำกับกิจกรรมการเรียนรู้และแบบทบทวนหลังการปฏิบัติกิจกรรม (AAR) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจงแจงความถี่ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลวิจัยสรุปได้ว่า
1. พุทธิพิสัย 1) ด้านการจัดสภาพการเรียนรู้และบรรยากาศของโรงเรียน นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจในการจัดสภาพแวดล้อมและอาคารเรียนที่สะอาด มีระบบ ระเบียบและมาตรฐาน การปรับตนเองให้เป็นผู้รักษาความสะอาดและมีวินัยในการรักษาสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน การจัดการชั้นเรียนและการบริหารงานโรงเรียน และการพัฒนาและจัดการแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน 2) ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความถนัดและความต้องการของนักเรียน นักเรียนให้เกียรติและให้ความเคารพในการเข้าร่วมสังเกตการสอน รู้และเข้าใจสภาพการเรียนรู้ของนักเรียน การจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนให้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้และมีความสุข นักเรียนต้องมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย นักเรียนมีความต้องการให้ช่วยเหลือในการเรียนรู้เป็นรายบุคคล 3) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจในจัดห้องสอบ การควบคุมห้องสอบ การใช้วิธีการเสริมประสบการณ์การทำข้อสอบของนักเรียนหลังเลิกเรียนทุกวัน การสร้างข้อสอบในรูปแบบที่หลากหลาย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนแตกต่างกันครูต้องเป็นผู้ช่วยเหลือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน มาจากการปฏิบัติจริงของนักเรียน และวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงโดยการส่งผลงานของนักเรียน และ 4) ด้านการจัดทำโครงการวิชาการ นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจในการจัดโครงงานทางวิชาการของนักเรียน


วิธีการถ่ายทอดความรู้และการสอนภาษา และการสร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและท้องถิ่นในการจัดทำโครงงานทางวิชาการให้นักเรียน
2. ทักษะพิสัย นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจในวิธีการถ่ายทอดความรู้ เทคนิคการเก็บเด็ก การจัดกิจกรรมต่างๆ ให้แก่นักเรียน การปฏิบัติตนให้ดีและเป็นตัวอย่างให้กับนักเรียน ความรู้จากการสังเกตการสอนของครูในโรงเรียนเพื่อเตรียมตัวเป็นครูที่ดีและเก่ง หน้าที่ครูไม่ใช่มีเพียงการสอนอย่างเดียวแต่ต้องมีภารกิจอื่นด้วย และครูพี่เลี้ยงเป็นบุคคลสำคัญในการให้ความช่วยเหลือ แนะนำขณะศึกษาสังเกตฯ
3. จิตพิสัย นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจในด้านการสังเกตการทำงานของครูทั้งด้านการสอนและการทำงานอื่นในโรงเรียน วิธีการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน เทคนิคการสอน พฤติกรรมของนักเรียนแต่ละวัย ได้รับความรู้และแนวทางในการพัฒนาตนเองสู่ครูมืออาชีพ มีจรรยาบรรณต่อวิชาชีพครู มีความรู้ด้านการปฏิบัติงานต่างๆ ในโรงเรียนและการติดต่อประสานงานกับโรงเรียน
หมายเหตุ :