ชื่องานวิจัย : |
การพัฒนาระบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ปีการศึกษา 2557 (A Development Supervision System to Promote the Research Based Learning for Internship Teacher Student, LampangRajabhat University) |
ประเภทวิจัย : |
วิจัยองค์ความรู้ |
ปีงบประมาณ : |
2557 |
ประเภททุน : |
ทุนภายใน |
แหล่งทุน : |
มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง |
งบประมาณ : |
30,000.00 บาท |
เลขที่สัญญาทุน : |
- |
สถานะ : |
เบิกงวด 1 |
หัวหน้าวิจัย : |
สุธิดา พลชำนิ |
สังกัด : |
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา |
ข้อมูลติดต่อ : |
|
ผู้ร่วมวิจัย : |
เศรษฐวิชญ์ ชโนวรรณ
สุธาสินี ยันตรวัฒนา
|
บทคัดย่อ : |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัยของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูและเพื่อศึกษาประสิทธิผลของระบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัยของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่พัฒนาขึ้น ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู อาจารย์นิเทศก์ประจำสาขาวิชา และครูพี่เลี้ยง โดยกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย
1) นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง สาขาวิชาภาษาไทย จำนวน 14 คน และสาขาวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 12 คน รวม 26 คน
2) อาจารย์นิเทศก์สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง จำนวน 7 คน และสาขาวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 7 คน รวม 14 คน
3) ครูพี่เลี้ยงสาขาวิชาภาษาไทย จำนวน 7 คน และสาขาวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 7 คน รวม 14 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย
1) แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้และกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (ฝส.02 RBL) สำหรับอาจารย์นิเทศก์สาขาและครูพี่เลี้ยง เป็นแบบประเมินแบบตรวจสอบรายการ จำนวน 61 ข้อ
2) แบบบันทึกสะท้อนความคิดจากการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย สำหรับอาจารย์นิเทศก์สาขา เป็นแบบบันทึกจากข้อคำถามปลายเปิด จำนวน 5 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. การพัฒนาระบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัยของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู พบว่า ระบบการนิเทศที่เหมาะสมตามกรอบแนวคิดของคณะผู้วิจัย ซึ่งข้อมูลใน 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะเตรียมการโดยยึดหลักการมีส่วนร่วม (participation) และมีความชัดเจนในแนวปฏิบัติ (clarity) 2) ระยะดำเนินการนิเทศโดยยึดหลักกัลยาณมิตรนิเทศ (goodwill supervision) และการชี้แนะ (coaching) และ 3) ระยะหลังเสร็จสิ้นการนิเทศโดยยึดหลักการมีส่วนร่วม (participation to sharing ideas)
2. การศึกษาประสิทธิผลของระบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัยของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่พัฒนาขึ้น พบว่า ประสิทธิผลของระบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัยของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีตัวบ่งชี้สำคัญ คือ ทักษะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัยของนักศึกษา ที่มีพฤติกรรมบ่งชี้หรือวัดได้จาก 1) ลักษณะการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ และ 2) พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ ภายหลังการวิจัยนักศึกษามีพัฒนาการด้านการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้และกระบวนการจัดการเรียนรู้ดีขึ้น โดยในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ นักศึกษาสามารถระบุแนวทางหรือขั้นตอน การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัยได้ แต่ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ไม่ปรากฏลักษณะการใช้แนวคิดฐานวิจัยอย่างเป็นรูปธรรม
จากผลการวิจัยแสดงว่าระบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัยของนักศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสามารถส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัยของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูได้ |
หมายเหตุ : |
|