การบรรยายพิเศษ โดย ศ.ดร.สัญชัย จตุรสิทธา ศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ) หัวข้อ "การวิจัยเพื่อความอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืนและสังคมอัจฉริยะ" (ดาวน์โหลด Slide Power Point การนำเสนอ)
วันที่ | รายละเอียด |
---|---|
4 มีนาคม 2562 | เปิดรับลงทะเบียนและรับบทความฉบับเต็ม Full Paper ผ่านระบบออนไลน์ |
30 เมษายน 2562 | หมดเขตรับบทความวิจัย |
27 พฤษภาคม 2562 | แจ้งผลการตรวจพิจารณาบทความฉบับเต็ม เวลา 15.00 น. ผ่านเว็บไซต์ NACE2019 |
22 มิถุนายน 2562 | วันสุดท้ายของการส่งบทความฉบับสมบูรณ์หลังแก้ไข |
25 มิถุนายน 2562 | ประกาศรายชื่อผู้นำเสนอผลงาน และลำดับการนำเสนอ |
13 กรกฎาคม 2562 | วันจัดการประชุมวิชาการ NACE2019 |
สาขาที่เกี่ยวข้องกับทางการศึกษาทุกสาขา และงานวิจัยเชิงพื้นที่
1. สาขาวิชาหลักสูตร และการสอน (ปฐมวัย และ 8 กลุ่มสาระ)
2. สาขาวิชาเทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการศึกษา
3. สาขาวิชาบริหารการศึกษา
4. สาขาวิชาการวัดและประเมินผลทางการศึกษา
5. สาขาวิชาจิตวิทยาทางการศึกษา
6. การวิจัยเชิงพื้นที่
ผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมนำเสนอผลงาน ลงทะเบียนได้ฟรี... ไม่มีค่าใช้จ่าย
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างสรรค์งานวิจัย และการนำผลการวิจัยเพื่อบูรณาการกับการศึกษา โดยมีนโยบายส่งเสริม และสนับสนุนให้คณาจารย์ผลิตผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์ และนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้มีการบูรณาการงานวิจัยกับเรียนการสอน และมุ่งเน้นให้มีการสร้างสรรค์งานวิจัยเชิงพื้นที่ รวมถึงวิจัยเพื่อรับใช้สังคมที่มีคุณภาพ และเป็นที่ยอมรับต่อสาธารณชน นอกจากนี้การเผยแพร่ผลงานวิจัย และผลงานวิชาการ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ให้งานอันมีคุณค่าเหล่านี้ได้ไปใช้ประโยชน์ และเผยแพร่ในวงวิชาการอย่างกว้างขวาง
ดังนั้นคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง จึงดำเนินการจัดการประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ "ครุศาสตร์วิจัย" โดยได้ประชาสัมพันธ์ภายใต้ชื่อ "ครุศาสตร์วิจัย 2562 : NACE 2019 การวิจัยเพื่อความอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืนและสังคมอัจฉริยะ" เพื่อสร้างคุณประโยชน์ทางการศึกษา เพิ่มคุณค่าทางวิชาการ พัฒนาผลงานวิจัยสู่การใช้นวัตกรรม และมีการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เพื่อเป็นเวทีสาธารณะด้านการวิจัยและวิชาการให้กับคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ ครู และบุคลากรทางการศึกษา นิสิต นักศึกษา ได้สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ พัฒนาต่อยอดงานวิจัยตลอดจนพัฒนางานวิจัยไปสู่ชุมชนกระตุ้นให้เกิดการพัฒนางานวิจัยที่เข้มแข็ง ยั่งยืน และตอบสนองความต้องการของสังคมอย่างแท้จริง
1. เพื่อนำเสนอผลงานวิจัย และผลงานวิชาการทางการศึกษา
2. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ และข้อคิดเห็นในการพัฒนางานวิจัยของผู้เข้าร่วมโครงการ
3. เพื่อรวบรวมบทความทางวิชาการในรูปแบบของเอกสารเชิงวิชาการ และสร้างเครือข่ายในการพัฒนางานวิจัยให้เกิดขึ้นระหว่างนักวิจัย สถาบันการศึกษา ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน