ชื่องานวิจัย : การพัฒนาชุดกิจกรรมโดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัย
ประเภทวิจัย :
ปีงบประมาณ : 2559
ประเภททุน : ทุนภายใน
แหล่งทุน : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
งบประมาณ : 55,000.00 บาท
เลขที่สัญญาทุน : คร.007/2559
สถานะ :
หัวหน้าวิจัย : อรทัย เลาอลงกรณ์
สังกัด : สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
ข้อมูลติดต่อ :     
ผู้ร่วมวิจัย : สุธิษณา โตธนายานนท์
วิไลวรรณ กลิ่นถาวร
ศิริพร วงค์ตาคำ






บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมโดยใช้สมองเป็นฐานในการส่งเสริมทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัย และเพื่อวิเคราะห์ผลการใช้ชุดกิจกรรมโดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยชาย-หญิงอายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 และ 2/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ของโรงเรียนเทศบาลห้างฉัตร อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน และ กลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน รวม 60 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดกิจกรรมโดยใช้สมองเป็นฐาน จำนวน 32 แผน และแบบวัดทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัย ซึ่งมีทั้งหมด 2 สถานการณ์ ประกอบด้วยสถานการณ์ที่ 1 ประเมินทักษะชีวิต ด้านการรับผิดชอบและและด้านการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น สถานการณ์ที่ 2 ประเมินทักษะชีวิต ด้านการคิดวิเคราะห์และด้านการแก้ปัญหา สถิติที่ใช้ในงานวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงมาตรฐาน ( .)
ผลการวิจัยพบว่า

1. ทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยโรงเรียนเทศบาลห้างฉัตร ก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยภาพรวม หลังการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม โดยก่อนการจัดกิจกรรม มีค่าเฉลี่ย 1.69 และหลังการจัดกิจกรรม มีค่าเฉลี่ย 1.89 เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า หลังการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมทุกด้าน โดยด้านความรับผิดชอบ ก่อนการทำกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.71 และหลังการทำกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นเท่ากับ 1.89 ด้านการสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่น ก่อนการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.58 และหลังจากการทำกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นเท่ากับ 1.85 ด้านการคิดวิเคราะห์ก่อนการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.8 และหลังการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นเท่ากับ 1.95 ด้านการแก้ปัญหาก่อนการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.67 และหลังการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นเท่ากับ 1.84

2. ทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยในกลุ่มควบคุมของโรงเรียนเทศบาลห้างฉัตร ก่อนและหลังที่ไม่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยภาพรวม หลังที่ไม่ได้รับการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนที่ไม่ได้รับการจัดกิจกรรม โดยก่อนที่ไม่ได้รับการจัดกิจกรรม มีค่าเฉลี่ย 1.64 และหลังที่ไม่ได้รับการจัดกิจกรรม มีค่าเฉลี่ย 1.67 เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า หลังที่ไม่ได้รับการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนที่ไม่ได้รับการจัดกิจกรรมทุกด้าน โดยเด็กปฐมวัยในกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยทักษะชีวิตด้านความรับผิดชอบก่อนที่ไม่ได้รับการจัดกิจกรรมเท่ากับ 1.69 และมีค่าเฉลี่ยหลังที่ไม่ได้รับการจัดกิจกรรมเท่ากับ 1.72 ด้านการสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่น ก่อนที่ไม่ได้รับการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.53 หลังที่ไม่ได้รับการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.57 ด้านการคิดวิเคราะห์ ก่อนที่ไม่ได้รับการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.74 หลังที่ไม่ได้รับการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.77 และด้านการแก้ไขปัญหาก่อนที่ไม่ได้รับการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.60 และหลังที่ไม่ได้รับการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.62

3. การเปรียบเทียบผลการศึกษาทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยโรงเรียนเทศบาลห้างฉัตร ก่อนและหลังที่ได้รับและไม่ได้รับการจัดกิจกรรม พบว่า ทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยก่อนได้รับการจัดกิจกรรมเท่ากับ 1.69 หลังจากได้รับการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นเท่ากับ 1.89 ในส่วนของทักษะชีวิตเด็กปฐมวัยในกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยก่อนที่ไม่ได้รับการจัดกิจกรรมเท่ากับ 1.64 และหลังจากที่ไม่ได้รับการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.67


The purposes of this research were 1) to develop Brain Based Learning activity packages to encourage young children life skill 2) to analyze effect of using Brain Based Learning activity packages of young children. The sample used in the research was young children boys and girls, with 5-6 years of age, of kindergarten 2/1 and 2/2 in first semester of 2016 academic year of Hang Chat district municipal school, Hang Chat sub-district, Lampang Province. The sample was divided into two groups: experimental and control groups. Each group contained 30 young students. Those groups were selected by using purposive sampling. The experiment was carried out within the period of 8 weeks – 4 days per week, and it took 20 minutes per day. The instrument used in the study were 32 Brain Based Learning activity packages and life skills evaluation form. The evaluation form was divided into two situations: 1) Students were evaluated the accountability skill and interpersonal relationship skill. 2) The students were evaluated critical thinking skill and problem skill. The research followed one group pretest-posttest design and the data were analyzed by using Arithmetic mean (x̅) and Standard Deviation (S.D.).
The results of study revealed that

1) The posttest average score of life skills of young children in experimental group were higher than those one of their pretest. The pretest mean scores of experimental group were 1.69 and the posttest scores were 1.89. The particular results revealed that the pretest mean scores of accountability were 1.71 and the posttest mean scores increasingly were 1.89. Additionally the pretest mean scores of interpersonal relationship were 1.58 and the posttest mean scores changed increasingly to 1.85. The pretest mean scores of critical thinking were 1.8 and the posttest mean scores changed increasingly to 1.95. In other words the pretest mean scores of problem solving was 1.67 and the posttest mean scores changed to 1.84.

2) The posttest average scores of life skills of the young children in control group were higher than the pretest average scores. The pretest mean scores were 1.67. The particular results revealed that the pretest mean scores of accountability was 1.69 and the posttest mean scores increasingly were 1.72. Additionally the pretest mean scores of interpersonal relationship were 1.53 and the posttest mean scores changed increasingly to 1.57. Then pre-test mean scores of critical thinking were 1.74 and the posttest mean scores changed obviously to 1.77. In other words the pretest mean scores of problem solving were 1.60 and the posttest mean scores changed indistinct to 1.62.

3) The comparative of the life skills results between experimental and control groups revealed that the posttest average scores of life skill of the young children in experimental group were 1.89 that were higher than those one of their pretest at 1.69. Additionally the posttest average scores of life skill of young children in control group were 1.67 that were slightly higher than their pretest at 1.64.
หมายเหตุ :