ชื่องานวิจัย : |
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้บูรณาการวิถีชีวิตชนเผ่าปกาเกอะญอเพื่อ ส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนโรงเรียนบ้านโป่งน้ำร้อน ตำบลเสริมกลาง อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง |
ประเภทวิจัย : |
วิจัยองค์ความรู้ |
ปีงบประมาณ : |
2559 |
ประเภททุน : |
ทุนภายใน |
แหล่งทุน : |
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง |
งบประมาณ : |
55,000.00 บาท |
เลขที่สัญญาทุน : |
009/2559 |
สถานะ : |
ส่งเล่มสมบูรณ์ |
หัวหน้าวิจัย : |
สุจิตรา ปันดี |
สังกัด : |
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน |
ข้อมูลติดต่อ : |
|
ผู้ร่วมวิจัย : |
|
บทคัดย่อ : |
การวิจัย เรื่อง หลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้บูรณาการวิถีชีวิตชนเผ่าปกาเกอะญอเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนโรงเรียนบ้านโป่งน้ำร้อน ตำบลเสริมกลาง อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพระดับการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้บูรณาการวิถีชีวิตชนเผ่าปกาเกอะญอ และเพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้บูรณาการวิถีชีวิตชนเผ่าปกาเกอะญอเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนโรงเรียนบ้านโป่งน้ำร้อน จังหวัดลำปางกลุ่มเป้าหมาย ที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนบ้านโป่งน้ำร้อน จังหวัดลำปาง จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่
1) แบบสอบถามระดับการเห็นคุณค่าในตนเอง
2) หลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้บูรณาการวิถีชีวิตชนเผ่าปกาเกอะญอเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนโรงเรียนบ้านโป่งน้ำร้อน จังหวัดลำปาง และ
3)แบบประเมินผลการใช้หลักสูตรฯ
ผลการวิจัย พบว่า
1) สภาพระดับการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโป่งน้ำร้อน อำเภอเสริมกลาง จังหวัดลำปาง ภาพรวมระดับการเห็นคุณค่าในตนเองทั้ง 3 ด้านอยู่ในระดับต่ำ โดยด้านที่มีระดับการเห็นคุณค่าในตนเองต่ำที่สุดคือ ด้านบุคลิกลักษณะของตนเอง ด้านการศึกษา และด้านการปฏิสัมพันธ์กับสังคมตามลำดับ
2) องค์ประกอบของการพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วย หลักการ จุดมุ่งหมาย โครงสร้าง เนื้อหาสาระ กิจกรรมการเรียนรู้ ระยะเวลา สื่อและแหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล เอกสารประกอบหลักสูตร และการประเมินหลักสูตร ซึ่งนำหลักสูตรไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสม พบว่าหลักสูตรมีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้ได้
3) ผลการนำหลักสูตรไปใช้ โดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการพบว่า
3.1) ครูส่วนใหญ่มีความสามารถในการออกแบบหน่วยและแผนการจัดการเรียนรู้ในระดับดี เท่ากับ 3 คะแนน หมายถึง มีการกำหนดเป้าหมาย กิจกรรมการเรียนรู้ ประเมินผลการเรียนรู้โดยบูรณาการเข้ากับวิถีชีวิต ปกาเกอะญอได้สมบูรณ์ 3 หน่วยและแผนการเรียนรู้
3.2) ครูมีความคิดเห็นต่อการร่วมกิจกรรมในหลักสูตรในระดับเห็นด้วยมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ กิจกรรมช่วยในการปฏิบัติการด้านการออกแบบหน่วยและแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการวิถีชิวิตชนเผ่าเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด
3.3) ภายหลังที่ผู้เรียนได้เรียนตามแผนการเรียนรู้บูรณาการ ภาพรวม 3 ด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีระดับการเห็นคุณค่าในตนเองสูงที่สุดคือ ด้านการศึกษา ด้านบุคลิกลักษณะของตนเอง และด้านการปฏิสัมพันธ์กับสังคม ตามลำดับ
คำสำคัญ การพัฒนาหลักสูตร การบูรณาการ การเห็นคุณค่าในตนเอง |
หมายเหตุ : |
|