ชื่องานวิจัย : ผลการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิดในรายวิชาปรัชญาการศึกษา ของนักศึกษาครู ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
ประเภทวิจัย : วิจัยในชั้นเรียน
ปีงบประมาณ : 2559
ประเภททุน : ทุนภายใน
แหล่งทุน : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
งบประมาณ : 5,000.00 บาท
เลขที่สัญญาทุน : 017/2559
สถานะ : ส่งเล่มสมบูรณ์
หัวหน้าวิจัย : ณัฎฐ์ รัตนศิริณิชกุล
สังกัด : สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
ข้อมูลติดต่อ :     
ผู้ร่วมวิจัย :








บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิดในรายวิชาปรัชญาการศึกษาของนักศึกษาครู ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังนี้ 1) การประเมินผลการจัดการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิดในรายวิชาปรัชญาการศึกษาของนักศึกษาครู ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ปี 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 118 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การวิเคราะห์เนื้อหาการจัดการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิดในรายวิชาปรัชญาการศึกษาของนักศึกษาครู ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ปี 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า
1. การประเมินผลการจัดการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิดในรายวิชาปรัชญาการศึกษาของนักศึกษาครู ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง พบว่า ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามขั้นตอน พบว่า ขั้นตอนการอธิบายความรู้สึกต่อสถานการณ์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือขั้นตอนการเปิดใจฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย ส่วนขั้นตอนการเรียนรู้เทียบเคียงมุมมองใหม่ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
2. การวิเคราะห์เนื้อหาการจัดการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิดในรายวิชาปรัชญาการศึกษาของนักศึกษาครู ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง พบว่า 1) นักศึกษาได้สะท้อนคิด ว่ารู้สึกอย่างไร เป็นการอธิบายสภาพและบริบทของสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้น สรุปสาระสำคัญ วิเคราะห์ปัจจัยที่สนับสนุนให้เกิดปัญหานั้นอย่างเชื่อมโยง อธิบายความคิด ความรู้สึกตามประสบการณ์เดิมของตนเองที่มีต่อสถานการณ์นั้นได้ กล่าวถึงความรู้สึกของผู้อื่น ประเมินความเห็นของตนเองที่มีต่อสถานการณ์นั้นได้ทั้งด้านบวกและด้านลบ 2) นักศึกษาได้สะท้อนคิด ว่าได้เรียนรู้อะไร เป็นการทบทวนความรู้เกี่ยวกับแนวคิด หลักการ ความเชื่อของตนเองที่มีอยู่เดิม อธิบาย นำเสนอ แนวคิด หลักการ ความคิด ทฤษฎี ความเชื่อ คุณค่าที่สนับสนุนความคิดของตนเองได้ชัดเจน มีเหตุผล รู้จักฟังอย่างตั้งใจ มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคลอื่นในกลุ่มโดยปราศจากอคติ แสดงความคิดเห็นโต้แย้งทางวิชาการอย่างสร้างสรรค์ อธิบาย จัดหมวดหมู่ ลำดับ และสรุปความคิดได้ชัดเจน เข้าใจง่าย และ 3) นักศึกษาได้สะท้อนคิด ว่าจะนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร เป็นการอธิบายเพื่อเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละแนวทางได้อย่างมีเหตุมีผลและน่าเชื่อถือ สามารถสรุปทางเลือกได้ ประเมินผลลัพธ์ที่ตามมาของทางเลือกได้หลากหลายแง่มุม อธิบายได้ว่า ประสบการณ์ที่ได้รับจะนำไปเปลี่ยนแปลงตนเอง ด้านความรู้ ความคิด ความเชื่อได้อย่างไร เป็นการเปรียบเทียบความรู้ ความคิด ความเชื่อเดิมกับสิ่งใหม่


The purpose of this research was to 1) evaluate of learning by reflective thinking for Philosophy of education of undergraduate students of Lampang Rajabhat University and 2) analyze the contents of learning by reflective thinking for Philosophy of education of undergraduate students of Lampang Rajabhat University This research was divided to 2 steps: 1) evaluation of learning by reflective thinking for Philosophy of education of undergraduate students of Lampang Rajabhat University; the sample group was 118-student of undergraduate students during the second semester of the academic year 2015 and the data were analyzed using by mean and standard deviation and 2) analyzing the contents of learning by reflective thinking for Philosophy of education of undergraduate students of Lampang Rajabhat University; the target group was students of undergraduate students during the second semester of the academic year 2015 and the data were analyzed the contents.
The results of the research were as follows:
1) the evaluation of learning by reflective thinking for Philosophy of education was the analysis results reveal high in general. They are put in order from high to low as the following: feeling, various perspectives and reflect learning.
2) the analyzing the contents of learning by reflective thinking for Philosophy of education were 1) students could be reflected about feeling, describe experience, summary, analyze the problems, explain their opinion and others, and evaluating their opinion with each situations both positive and negative 2) students reflected: after learning they could be reviewed about concepts, theories, principles, beliefs, exchange of ideas with others, discuss creative arguments, and summarize ideas and
3) students reflected: they could be applied the knowledge in their life: describe, summary, and evaluating about reflect learning.
หมายเหตุ :