ชื่องานวิจัย : การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพลังสุขภาพจิต (RQ) สำหรับชุมชนที่ถูกน้ำท่วม โดยมีส่วนร่วมของชุมชน : กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง (The Development of Resilience Quotient (RQ) Promotional Model to Apply for the Flooded Community by Using the Community Participation Activiry, Case Study: District, Lampang Province)
ประเภทวิจัย : วิจัยองค์ความรู้
ปีงบประมาณ : 2556
ประเภททุน : ทุนภายใน
แหล่งทุน : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (วช.)
งบประมาณ : 288,200.00 บาท
เลขที่สัญญาทุน : -
สถานะ : ส่งเล่มสมบูรณ์
หัวหน้าวิจัย : อัมเรศ เนตาสิทธิ์
สังกัด : สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
ข้อมูลติดต่อ :     
ผู้ร่วมวิจัย : ปณตนนท์ เถียรประภากุล
พงศ์วัชร ฟองกันทา







บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์วิธีการส่งเสริมพลังสุขภาพจิตเพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพลังสุขภาพจิต สำหรับชุมชนที่ถูกน้ำท่วมเพื่อนำรูปแบบการส่งเสริมพลังสุขภาพจิตที่พัฒนาขึ้น ไปดำเนินการส่งเสริมพลังสุขภาพจิต สำหรับชุมชนที่ถูกน้ำท่วมและเพื่อประเมินผลการดำเนินการส่งเสริมพลังสุขภาพจิต ชุมชนที่ถูกน้ำท่วม ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังสุขภาพจิตของโรงพยาบาลประจำจังหวัดจำนวน 3 คนผู้ประสบภัยน้ำท่วมในเขต อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง จำนวน 10 คนนักวิชาการที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เกี่ยวกับพลังสุขภาพจิต จำนวน 30 คนผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมพลังสุขภาพจิต จำนวน 10 คนและชาวบ้านในชุมชนที่ถูกน้ำท่วมในเขตอำเมือง จ.ลำปางจำนวน 40 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร (Content Analysis)แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบสังเกตพฤติกรรม การประชุมสนทนาผู้ทรงคุณวุฒิ(FocusGroupDiscussion)และแบบประเมินพลังสุขภาพจิตของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test
ผลการวิจัยพบว่าการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพลังสุขภาพจิต (Resilience Quotient: RQ)สำหรับชุมชนที่ถูกน้ำท่วม (The Model for PROMOTE Resilience Quotient: RQ) ประกอบไปด้วยแนวทางการส่งเสริมพลังสุขภาพจิต 7 ด้าน ได้แก่ ด้านการกระทำ (Practice) ด้านความศรัทธา (Reliance)ด้านการเปิดใจ(Openheart)ด้านการผูกมิตร (Makefriends)ด้านเป้าหมาย(Objective)ด้านการคิด (Think)และ ด้านอารมณ์(Emotion)และจากการพัฒนารูปแบบทำให้ได้ชุดกิจกรรมส่งเสริมพลังสุขภาพจิตที่อยู่ภายใต้รูปแบบ ชื่อชุดว่า “ภูมิคุ้มกันจากพลังชุมชน” ประกอบไปด้วยกิจกรรมย่อยทั้งหมด 5 กิจกรรมได้แก่กิจกรรม “เล่าเรื่องลบ พบทางออก” “ใจส่งใจ” “หมื่นมิตร” “คลิปชวนคิด” และ “บัตรคำนำทาง” และหลังจากใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ไปส่งเสริมพลังสุขภาพจิตให้กับชาวบ้านที่ถูกน้ำท่วม พบว่าชาวบ้านมีพลังสุขภาพจิตเพิ่มขึ้นหลังจากการทำกิจกรรม ร้อยละ 17.98 โดยด้านด้านกำลังใจเพิ่มขึ้นมากที่สุด ร้อยละ 17.86 รองลงมาเป็นด้านการจัดการกับปัญหาร้อยละ 18.76 และด้านความมั่นคงทางอารมณ์ ร้อยละ 17.12

คำสำคัญ: พลังสุขภาพจิต,ชุมชนที่ถูกน้ำท่วม




This research had the objectives to analyze the resilience quotient (RQ) promotional method, develop the RQ promotion format for flooded communities to be used to promote the RQ of flooded communities and to assess the RQ promotional operations for flooded communities in MueangLampang district, Lampang province. The research sample group consisted of three RQ specialists from the provincial hospital, 10 flood victims from MueangLampang district, Lampang province, 30 academicians specialized and possessed experiences in RQ, 10 RQ experts and 40 villagers from flooded communities in MueangLampang district, Lampang province. The research tools consisted of a content analysis form, an interview form, a questionnaire, a behavioral observatory form, focus group discussion and the RQ assessment Test of the Mental Health Department, Ministry of Public Health. The statistics used in analyzing the data were percentage, means, standard deviation and t-test.
The results of the research found that in the development of the RQ format for flooded communities, the model for the promotion of RQ consisted of 7 facets: Practice; Resilience; Open Heart; Make Friends; Objectives; Think and Emotion. The development of format created RQ promotional activity set called ‘Immunity from Community Power’ consisted of five smaller activities: Telling negative stories and finding way-out; Heart onto heart; Ten thousand friends; Thought provoking clips and Guiding cards. After using the developed set to promote RQ for the flooded victims, it was found that the villagers had increased RQ after doing the activity set 17.98%: the highest was morale at 17.86% followed by problem management at 18.76% and emotional stability at 17.12%.

Keywords: RQ: Resilience Quotient; Flooded Community
หมายเหตุ :