ชื่องานวิจัย : กระบวนการเรียนรู้ตำรายาพื้นบ้านจากผู้เฒ่าสู่เยาวชน ต.หัวเสือ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง (Learning the traditional pharmacopoeia from the elderly to the youth at Hua-Sua sub district, Mae-Ta district, Lampang.)
ประเภทวิจัย : วิจัยองค์ความรู้
ปีงบประมาณ : 2554
ประเภททุน : ทุนภายใน
แหล่งทุน : มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
งบประมาณ : 25,000.00 บาท
เลขที่สัญญาทุน : -
สถานะ : ส่งเล่มสมบูรณ์
หัวหน้าวิจัย : มะยุรีย์ พิทยาเสนีย์
สังกัด : สาขาวิชาคอมพิวเตอร์
ข้อมูลติดต่อ :     
ผู้ร่วมวิจัย : ตุลาภรณ์ แสนปรน








บทคัดย่อ : การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) อนุรักษ์ตำรายาพื้นบ้าน
2) จัดทำเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นตำรายาพื้นบ้าน 3) ถ่ายทอดตำรายาพื้นบ้านสู่เยาวชน มีขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 สอบถามตำรายาพื้นบ้านจากผู้เฒ่าในพื้นที่ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง จำนวน 2 ท่าน คือ 1.พ่อศรีเมือง คำเป็ง บ้านหนองมุง หมู่ที่ 10 รวบรวมได้ตำรายาพื้นบ้าน จำนวน 44 ตำรา 2.พ่อสมบูรณ์ ป้อไชยยะ บ้านดอนมูล หมู่ที่ 3 ซึ่งได้รวบรวมตำรายาพื้นบ้านจากพ่อหลวงโสม จันทร์จอม ที่ถ่ายทอดเอาไว้ จำนวน 36 ตำรา และได้รวบรวมตำรายาพื้นบ้านจากพ่อหลวงคำน้อย ป้อไชยยะ ที่ถ่ายทอดเอาไว้ จำนวน 61 ตำรา หลังจากนั้นผู้วิจัยได้นำตำรายาพื้นบ้านมาแปลให้เป็นภาษากลาง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่อง ชื่อตัวยา การได้มาซึ่งตัวยา วิธีการปรุง จากปราชญ์ชาวบ้าน บ้านห้วยมะเกลือ หมู่ที่ 4 ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง

ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลตำรายาพื้นบ้านที่ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาจัดทำเป็น
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ครั้งที่ 1 และนำไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตำรายาพื้นบ้านครั้งที่ 1 กับปราชญ์ชาวบ้านเขตพื้นที่ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ถอดบทเรียนจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 1 เพื่อนำไปสู่องค์ความรู้ใหม่ และเพิ่มเติมองค์ความรู้ใหม่เพื่อให้มีความสมบูรณ์ โดยมีการแก้ไขชื่อตัวยา ชื่อสมุนไพร วิธีการใช้ แล้วนำมาจัดทำเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ ครั้งที่ 2

ขั้นตอนที่ 3 การถ่ายทอดตำรายาพื้นบ้านสู่เยาวชน โดยวิธีการดังนี้ 1)จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 2 เพื่อถ่ายทอดตำรายาพื้นบ้านสู่เยาวชนในเขตตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง จำนวน 141 ตำรา 2)เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ 3)สร้างเครือข่ายตำรายาพื้นบ้านตำบลหัวเสือ จำนวน 16 คน 4)ให้เครือข่ายตำราพื้นบ้านทดลองปรุงยา จำนวน 1 ตำรายา คือสมุนไพรลูกประคบ
และนำสมุนไพรลูกประคบไปทดลองในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแพะใหม่

ผลการวิจัย
1.ได้ตำรายาพื้นบ้านในเขตพื้นที่ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง จำนวน 141 ตำรา
2.ได้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นตำรายาพื้นบ้าน จำนวน 141 ตำรา
3. มีการถ่ายทอดตำรายาพื้นบ้านสู่เยาวชนในเขตพื้นที่ ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง โดยการกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเผยแพร่ตำรายาพื้นบ้านผ่านทางเว็บไซต์ การทดลองปรุงสมุนไพรลูกประคบ


This research has 3 objectives

1)conserve the traditional pharmacopoeia
2)prepare to the electronic books about learning the traditional pharmacopoeia from the electronic books about learning the traditional pharmacopoeia from the elderly to the youth. In this research we separate the process into 3 steps.

First, the researchers search the data from the elderly in the research area amount of 2 person. Mr.Srimuang Kam-peng (Baan Nongmung) collects the traditional pharmacopoeia amount 44 formulas and the other Mr.Somboon Porchiya (Baan Donmoon) collects the traditional pharmacopoeia amount 97 formulas, that from grandpa Som Janjom amount 36 formulas and from grandpa kamnoi Porchaiya amount 61 formulas, after that the researchers take the traditional pharmacopoeia to translate from dialect language to Thai language and exchange the knowledge about name of pharmacopoeia and the process of pharmacopoeia production with the local philosopher at Baan Huaymaklua M4, Hua-Sua, Maeta, Lampang.

Second, take the data after the process of exchange then the researchers bring the electronic books to discuss with the local philosopher which modifies about the name of pharmacopoeia and how to use the pharmacopoeia. After this step the researchers take the data to prepare to the electronic books in second time.

Finally, the researcher bring the knowledge about the traditional pharmacopoeia in 4 ways : 1)exchanging the knowledge about the traditional pharmacopoeia in second time for relay the knowledge to the youth, who live in Hua-sua sub district Maeta district Lampang province, about 141 formulas 2)publishing on the website 3)created the new local philosophers, who prepare the traditional pharmacopoeia, amount 16 person 4)Suggesting the new local philosophers try to the herbal compress, then we take the herbal compress to use in the Pare-Mai local hospital.

Results of the study
1) Getting the tradition pharmacopoeia amount 141 formulas.
2) Getting the electronic books from the local knowledge about the tradition
pharmacopoeia.
3) Relaying the knowledge of tradition pharmacopoeia to the youth in the research area by
exchanging and learning process, publishing the knowledge on the website and try to prepare the herbal compress.
หมายเหตุ :