ชื่องานวิจัย : การจัดการความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาในจังหวัดลำปาง (knowledge management for learning management Innovation of school in Lampang)
ประเภทวิจัย : วิจัยองค์ความรู้
ปีงบประมาณ : 2555
ประเภททุน : ทุนภายนอก
แหล่งทุน : สกว.
งบประมาณ : 47,500.00 บาท
เลขที่สัญญาทุน : -
สถานะ : ส่งเล่มสมบูรณ์
หัวหน้าวิจัย : สมชาย เมืองมูล
สังกัด : สาขาวิชาคอมพิวเตอร์
ข้อมูลติดต่อ :     
ผู้ร่วมวิจัย : เบญจมาศ พุทธิมา
สุภาภรณ์ มาชัยวงศ์
เกษตร วงศ์อุปราช






บทคัดย่อ : โครงการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้และค้นหาครูแกนนำที่พัฒนานวัตกรรมใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 จังหวัดลำปาง วิเคราะห์ปัจจัยและกลไกที่สนับสนุนให้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ประสบผลสำเร็จ และเสนอแนะการสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในจังหวัดลำปาง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ครู 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 จังหวัดลำปาง

ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยโดยใช้กระบวนการการจัดการความรู้ (Knowledge Management) 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การค้นหาความรู้ (Knowledge Selection) โดยค้นหานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เป็นสิ่งที่ได้รับการคิดค้นและจัดทำขึ้นใหม่ พร้อมทั้งค้นหาครูแกนนำที่พัฒนานวัตกรรมที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี (Best practice) โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก 2) สร้างการเรียนรู้ (Knowledge Sharing) ผ่านเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของครูแกนนำในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องที่เป็นความสำเร็จของตัวบุคคล (Success Story) และใช้ผังมโนภาพ (mind mapping) เป็นเครื่องมือในการบันทึกกระบวนการสร้างการเรียนรู้ 3) ประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Assets) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยและกลไกที่ทำให้นวัตกรรมประสบผลสำเร็จ 4) เผยแพร่ความรู้ (Knowledge Distribution) โดยการนำนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ประสบความสำเร็จ มาเผยแพร่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเพื่อนครูและบุคคลทั่วไปที่สนใจ เพื่อสร้างเครือข่ายและสร้างระบบครู พี่เลี้ยง (Coaching) แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ 5) ใช้ความรู้ (Knowledge Adoption) โดยการนำกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จ ไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดความรู้ใหม่ และเสนอแนะการสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในจังหวัดลำปาง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ครูสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 1 จังหวัดลำปาง ซึ่งผลการวิจัย พบว่า

1) การค้นหานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่และครูแกนนำที่พัฒนานวัตกรรมที่เป็นแนวปฏิบัติ ที่ดี (Best practice) มีนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แบ่งงออกเป็น 4 ประเภท ประกอบด้วย นวัตกรรมการเรียนการสอน นวัตกรรมสื่อการสอน นวัตกรรมการประเมินผล และนวัตกรรมบริหารจัดการ ครูแกนนำที่ค้นพบจำนวน 6 กลุ่มสารการเรียนรู้ ประกอบด้วย กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

2) ปัจจัยที่สนับสนุนให้นวัตกรรมการจัดการความรู้ประสบผลสำเร็จ ประกอบด้วย ปัจจัยภายในที่สำคัญ คือ ครูเกิดแรงบันดาลใจในการพัฒนานวัตกรรม ส่วนปัจจัยภายนอก คือ ผลที่ตามมาจากการพัฒนานวัตกรรม คือ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น ผู้ปกครองชื่นชมและภาคภูมิใจในความสำเร็จของลูก และกลไกที่สนับสนุนให้นวัตกรรมการจัดการความรู้ประสบผลสำเร็จ ประกอบด้วย การผลักดันและส่งเสริมของผู้บริหารสถานศึกษา การมีส่วนร่วมของชุมชนและผู้ปกครอง เครือข่ายที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ การสนับสนุนงบประมาณและสถานที่จากเขตพื้นที่การศึกษา และนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการและเขตพื้นที่การศึกษา

3) ข้อเสนอแนะการสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในจังหวัดลำปาง ซึ่งครูแกนนำควรมีบทบาทเป็นพี่เลี้ยงให้แก่ครูที่อยู่ในกลุ่มสาระเดียวกัน ส่งเสริมและกระตุ้นให้เพื่อนครูสามารถพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้น และทำให้ครูเหล่านั้นกลายเป็นครูแกนนำและเป็นพี่เลี้ยงให้กับครูรุ่นต่อๆ ไป หน่วยงานควรสนับสนุนให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประจำทุกเดือนเป็นการกระตุ้นให้ครูได้นำเสนอผลงานนวัตกรรมและเกิดกระบวนการสร้างความรู้ใหม่ที่ได้จากการเรียนรู้ นอกจากนั้นการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ควรบูรณาการหลายกลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อเชื่อมโยงให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง และควรมีการเผยแพร่นวัตกรรมการเรียนรู้ของครูแกนนำให้กว้างขวางมากขึ้น เช่น การเผยแพร่บนเว็บไซต์นอกเขตพื้นที่การศึกษาหรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อเป็นแนวทางและตัวอย่างในการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ต่อไป

คำสำคัญ การจัดการความรู้ , นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้


This research project was a qualitative research and had the objectives to survey the learning management innovation and search for the core teachers who had developed innovations in the 8 learning subject matters under the Office of the Primary Educational Area Lampang Area 1 Lampang province, analyze the factors and mechanic supporting the success of the learning management innovations and suggest methods for creating learning management innovations in Lampang province. The population was the teachers of the 8 subject matters under the Office of Primary Educational Area Lampang Area 1 Lampang province.

The operation of this research used the Five Steps Knowledge Management as follows: 1) Knowledge Selection by searching for newly invented and made learning management innovations including searching for core teachers who had developed the best practiced innovations using in-dept interviews 2) Knowledge Sharing through learning exchange forum of core teachers for each subject matter using story-telling technique of success stories of each person and using mind mapping as a tool for recording the learning the creation process 3) Knowledge Assets for analyzing the factors and mechanic that made the innovations successful 4) Knowledge Distribution by bringing successful learning management innovations to share and exchange among teachers and interested general public to create networks and coaching system in each subject matter 5) Knowledge Adoption by adopting successful cases to create new knowledge and suggesting the creation of learning management innovations in Lampang province. The target group used in this research consisted of teachers under the Office of Primary Education Area Lampang Area 1 and the research findings were:

1) The search for learning innovations and core teachers who had developed best practiced innovations found 4 types of learning innovations consisted of teaching and learning innovations, teaching medias, evaluation medias and management innovations. The core teachers discovered totaled 6 subject matters consisted of the health education and physical education subject matter, the Thai language subject matter, mathematics subject matter, the foreign languages subject matter, the science subject matter and the vocation and technology subject matter.

2) Success factors supporting the innovations consisted of the important inner factor that made the teachers to have inspirations to develop the innovations and the outside factor was the result following the development of the innovations: the students had higher learning achievement and the parents admired and felt proud for the children’s success. The mechanic supporting the success of the learning management innovations consisted of the push and support of the school administrators, the participation of the community and parents, network supporting the creation of learning management innovations development, the supports of budget and venue from the Office of Primary Education Area and the policies of the Ministry of Education and Office of Primary Education Area.

3) Recommendations for learning management innovation creation in Lampang province: the core teachers should have the role as the coaches for the teachers in the same subject matters, support and encourage other teachers to develop new innovations and enable those teachers to become core teachers and coaches for the next generations of teachers. The support office should provide monthly learning exchange stages to encourage the teachers to present their innovations and create a new-knowledge process from learning. Moreover, the development of learning management innovation should integrate many subject matters to connect true student learning and there should be the publicizing of learning innovations of the core teachers widely such as on the website of the Office of Educational Areas or online social networks as the guidelines and examples for the further learning innovation development.

Keywords: Knowledge Management; Learning Management Innovation
หมายเหตุ :